โครงการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่และป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา. โดยพันธ์ศักดิ์ พลอินทร์

โครงการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่และป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

หลักการและเหตุผล                          

  ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของบุหรี่และยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น  

          - ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน

           -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้      

          - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา
          - จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้บุหรี่หรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ  ทำให้เกิดการเสพติด  ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหาบุหรี่และยาเสพติด สามารถกระทำได้โดย

 

          ๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่และยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา

          ๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น  การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองสูบบุหรี่และเสพยาเสพติด

          ๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง  ครอบครัว และสังคม

          ๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม ไปสู่ชีวิตของตนเอง

          ๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล

          ๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม   จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต

          ๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น

          ๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น  สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง

 

 

 

วัตถุประสงค์

1.   ผลผลิต

1.1     เพื่อเป็นการเฝ้าระวังนักเรียนไม่ยุ้งเกี่ยวกับบุหรี่และสารเสพติด

1.2     เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมในเรื่องการแสดงออกในทางสร้างสรรค์

1.3     เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติดแก่นักเรียน

                                1.4     เพื่อให้วิทยาลัยปลอดจากบุหรี่และสารเสพติด 

                2.   ผลลัพธ์

นักเรียนไม่ยุ้งเกี่ยวกับบุหรี่และสารเสพติด วิทยาลัยปลอดจากบุหรี่และสารเสพติด เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม

ปัญหาและความต้องการ

ปัญหา

  1. นักเรียนเป็นวัยที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น  อยากรู้  อยากลอง 
  2. นักเรียนในซึ่งมาจากหลายหมู่บ้าน  ได้เพื่อนใหม่อาจก่อให้เกิดการซักนำไปในทางที่ผิด
  3. นักเรียนในระดับปวช.อาจถูกรุ่นพี่ชักนำให้เข้าสู่อบายมุขต่าง ๆ

ความต้องการ

  1. ให้วิทยาลัยและชุมชนเป็นเขตปลอดบุหรี่และสารเสพติด  ให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
  2. ครู   ผู้ปกครอง  ชุมชน  เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชนในทุกด้าน

 

แผนการดำเนินงาน

                วิทยาลัยได้ดำเนินงาน  ป้องกันและแก้ไขปัญหาของบุหรี่และสารเสพติด   โดยการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา  2554 ดังนี้

กิจกรรมตามแผนการดำเนินงาน

  จำแนกเป็น  3  มาตรการ  คือ  มาตรการป้องกัน  มาตรการแก้ไข  มาตรการบำบัดรักษาและฟื้นฟู  ดังนี้

มาตรการที่  1       มาตรการป้องกัน

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต  โดยการจัดกิจกรรม  ดังนี้

กิจกรรมทางการศึกษา

1)            กำหนดเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันบุหรี่และสารเสพติดโดยการสอดแทรกในบทเรียนวิชาต่าง ๆ โดยการบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวัน

2)            จัดตั้งชมรมต่อต้านบุหรี่และยาเสพติด 

3)            จัดอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องน้ำ  มิให้เป็นสถานที่ที่นักเรียนไปลักลอบสูบบุหรี่และเสพสารเสพติดได้

กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสาร  สร้างความตระหนักต่อปัญหาและ    รู้จักปฏิบัติตนในการป้องกันบุหรี่และสารเสพติด  โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1)            จัดป้ายนิเทศในชั้นเรียนและป้ายนิเทศหน้าห้องเรียน

2)            จัดกิจกรรมเสียงตามสายในวิทยาลัย

3)            อบรมหน้าเสาธง

4)            รณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในวันต่อต้านยาเสพติดสากล

5)            ประชาสัมพันธ์โทษของยาเสพติดในข่าวสารประจำวิทยาลัย

6)            ให้ความรู้  แก่ผู้ปกครองนักเรียนในวันปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียนก่อนเปิดภาคเรียน

กิจกรรมทางเลือก

มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งร่างกาย อารมณ์และสังคม ให้แก่ผู้เรียนโดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1)            ด้านสุขภาพอนามัย  ได้กำหนดกิจกรรมดังนี้

-                   จัดการแข่งขันกีฬาภายใน

-                    ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการเล่นกีฬา  ดนตรี

-                   ตรวจสุขภาพนักเรียนโดยครูทุกวันโฮมรูม

-                   ดำเนินการตามโครงการบริการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียน

2)            ด้านจริยธรรม  ได้กำหนดกิจกรรมดังนี้

-                   ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมจริยธรรมสำหรับนักเรียน  โครงการอบรมเข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม

-                   กิจกรรมนั่งสมาธิ

-                   การเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น  ตามหลักสูตรท้องถิ่น

3)            ด้านสังคม  ได้กำหนดกิจกรรมดังนี้

-                   จัดตั้งชมรมบำเพ็ญประโยชน์ในวิทยาลัย

-                   ดำเนินการตามโครงการโครงการประชาธิปไตยและวินัยนักเรียน 

4)            ด้านฝึกอาชีพ  ได้กำหนดกิจกรรมดังนี้

-                   จัดกิจกรรมวิชาชีพเช่น ช่างเชื่อม ช่างปูน เพื่อหารายได้ระหว่างเรียน

-                   จัดกิจกรรมการเรียนการสอน  เพื่อให้นักเรียนสามารถผลิตผลงานที่สามารถจำหน่ายเป็นรายได้

มาตรการที่  2       มาตรการแก้ไข

เป็นมาตรการที่ใช้กับผู้เรียนที่เริ่มมีปัญหาการใช้สารเสพติด  โดยยังไม่ติดสารเสพติด  มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สารเสพติด และพฤติกรรมอื่น ๆ โดยมีการดำเนินงานดังนี้

ดำเนินการตามประกาศ เรื่อง มาตรการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา  ปีการศึกษา 2554

1)            ห้ามนักเรียนเสพสารเสพย์ติดและนำสารเสพย์ติดทุกชนิดเข้ามาในสถานศึกษา

2)            จัดให้มีกิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด

3)             ให้ครูเวร  ครูประจำชั้น  ครูประจำวิชาทุกคน  ตลอดจนนักการภารโรง  มีหน้าที่สอดส่องดูแลมิให้มีการเสพ  การนำสารเสพย์ติดเข้ามาในสถานศึกษา  โดยถือเป็นหน้าที่ที่ต้องดำเนินการและรายงานผู้บริหารทุกครั้งเมื่อทราบ  และให้ถือเป็นความลับของทางราชการที่จะให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้ได้

4)            ให้ครูผู้รับผิดชอบงานกิจการนักเรียนมีหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการประกันความปลอดภัยและโครงการโรงเรียนสีขาว

5)            ให้มีคณะกรรมการนักเรียนมีหน้าที่ดูแลสอดส่องและป้องกันสารเสพย์ติดในสถานศึกษา  ในรูปอาสาสมัคร

6)            ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง  นักเรียนในวันปฐมนิเทศ  ปีละ  1  ครั้ง

7)            เชิญผู้ปกครองนักเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเสพย์ติดมาปรึกษาหารือ  และหาแนวทางป้องกัน  แก้ไขปัญหาร่วมกับวิทยาลัย

8)            อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับโทษ พิษภัยของยาเสพย์ติด  อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

9)            ส่งนักเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเสพย์ติดไปบำบัดยังสถานบำบัดของรัฐ

10)     ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปราบปราบยาเสพย์ติดให้โทษ

-                   ป้องปราม  เข้มงวดในการตรวจค้นเพื่อป้องกัน  การลักลอบนำสารเสพติดเข้ามาในสถานศึกษาและการสุ่มตรวจปัสสาวะผู้เรียนกลุ่มเสี่ยง

-                   อบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากรที่ดำเนินงานป้องกันสารเสพติด

-                   การพัฒนาแนวทางและสร้างความเข้าใจนโยบายและการจัดกิจกรรมเสริมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา

มาตรการที่  3       มาตรการบำบัดรักษาและฟื้นฟู

                 เป็นมาตรการที่ใช้กับผู้เรียนที่ติดสารเสพติด  เพื่อที่จะลดจำนวนผู้เสพสารเสพติดลง หรือลดผลกระทบจะเกิดขึ้นแก่สถานศึกษา ครอบครัวและชุมชน โดยการดำเนินการดังนี้

สำรวจข้อมูลนักเรียนแยกประเภทนักเรียนกลุ่มเสี่ยง  กลุ่มที่ติดสารเสพติด  กลุ่มทดลองแต่ไม่ติด  กลุ่มที่มีพฤติกรรมมีแนวโน้มที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวสารเสพติด  และกลุ่มปกติ

1)            สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายในสถานศึกษา  ผู้ปกครอง  กรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องว่า  “ผู้ติดสารเสพติดเป็นผู้ป่วยที่ต้องการบำบัดรักษาที่ถูกต้องทั้งร่างกายและจิตใจ”  และโดยธรรมชาติของผู้ติดสารเสพติด  จะมีพฤติกรรมเลิกแล้วกลับไปเสพใหม่อีกซ้ำหลายครั้ง  ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและฟื้นฟูจิตใจ  จึงต้องใช้เวลานานหลายครั้งเช่นกัน

2)            ประสานกับครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลและแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด

3)            ส่งไปบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ  เพื่อรับการบำบัดรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจ

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ประชุมปรึกษาหารือเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงาน ปีการศึกษา 2554
  2. มอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ
  3. จัดทำโครงการต่อเนื่อง
  4. ดำเนินงานตามโครงการ
  5. รายงานผลการดำเนินโครงการเป็นระยะ ๆ และต่อเนื่อง
  6. นิเทศ  กำกับ  ติดตาม
  7. สรุปและประเมินผลโครงการ
  8. รายงานผลโครงการ

 

ระยะเวลาการดำเนินงาน

ที่

กิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

1.

ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ

มิถุนายน 2554

ผู้บริหารสถานศึกษา  คณะครู

2.

ประชุมปรึกษาหารือคณะครู

มิถุนายน 2554

ผู้บริหารสถานศึกษา  คณะครู

3.

แต่งตั้งครูรับผิดชอบทำโครงการ/แผนงาน

มิถุนายน 2554

ผู้บริหารสถานศึกษา

4.

จัดทำแผนการป้องกันปัญหายาเสพติด

มิถุนายน 2554

กรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง

5.

ดำเนินงานตามแผน

กค.54 – กย. 54

คณะกรรมการควบคุม

6.

ควบคุม  กำกับ  ติดตาม

ตค.54 – ธค. 54

ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการที่แต่งตั้ง

7.

สรุปประเมินผลการดำเนินงาน

ม.ค. 55    และ  กพ. 55

ผู้บริหาร / ครูผู้ได้รับมอบ

8.

รายงานผลระหว่างการดำเนินงาน

เม.ย. 2555

ครูผู้รับผิดชอบ

 

งบประมาณ

             งบอุดหนุนโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ

การประเมินผล

                ประเมินผลจากความสำเร็จของโครงการโดยวิธีการสังเกต  สัมภาษณ์  สอบถาม  การรายงานผลโครงการและการประเมินผลโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนทุกคนได้รับความปลอดภัยจากบุหรี่และสารเสพติด  เรียนรู้อย่างมีความสุข
  2. ผู้ปกครอง  ชุมชน  ให้การสนับสนุน  ร่วมมือ  ช่วยเหลือวิทยาลัยและเห็นความสำคัญของการป้องกันและแก้ไขปัญหาของบุหรี่และสารเสพติดในสถานศึกษา

 

 

 

                                                                                   งานปกครองวิทยาลัย              เจ้าของโครงการ

                                                                                   นายพันธ์ศักดิ์      พลอินทร์      ผู้เขียนโครงการ

 

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


govern

Status : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ไม่ระบุ