ส่วนประกอบต่าง ๆของเครื่องยนต์

 

ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ (ENGINE COMPONENTS)

        เครื่องยนต์


             เครื่องยนต์เป็นต้นกำลังของเครื่องมือทุ่นแรงในการเกษตรตลอดจนรถแทรกเตอร์ และรถไถเดินตาม โดยทั่วไปคือเครื่องยนต์จุดระเบิดภายใน กำลังที่ได้จากเครื่องยนต์จะถูกถ่ายทอดไปยังชิ้นส่วน และระบบต่างๆ  เช่น  ล้อ เพลาอำนวยกำลัง เพื่อใช้ในการฉุดลากและขับเคลื่อนอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ  เช่น   เครื่องพ่นสารเคมี ไถ

             เครื่องยนต์สามารถแบ่งออกได้ตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ ถ้าใช้น้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เรียกว่าเครื่องยนต์เบนซิน  ถ้าใช้น้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เรียกว่าเครื่องยนต์ดีเซล

             ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องยนต์ได้แก่
 
1. ฝาสูบ ( CYLINDER )  เป็นชิ้นส่วนที่ติดตั้งอยู่บนเสื้อสูบ ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของห้องเผาไหม้ และมีอุปกรณ์ลิ้นปิด-เปิดบนฝาสูบ  และยังมี
    ช่องหัวเทียน ดังนั้นฝาสูบจึงต้องมีความแข็งแรง และทนต่ออุณหภูมิจากการทำงานของเครื่องยนต์ได้ ด้วยเหตุนี้ฝาสูบจึงทำมาจากเหล็กหล่อหรือ
    โลหะผสมอลูมิเนียม  แต่ระยะหลังได้หันมาใช้อลูมิเนียมมากขึ้นเนื่องจากมีนํ้าหนักเบาและยังระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย
 
2. เสื้อสูบ ( CYLINDER BLOCK )  เสื้อสูบเป็นชิ้นส่วนที่ใหญ่และมีนํ้าหนักมากที่สุด  เป็นที่ติดตั้งชิ้นส่วนต่างๆ ชิ้นส่วนที่ติดกับเสื้อสูบได้แก่กระบอกสูบ
    หลาย ๆ ชุด ซึ่งมีลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นและลงอยู่ภายใน เพลาข้อเหวี่ยง เพลาลูกเบี้ยว  วาล์ว  จานจ่าย เป็นต้น  ลักษณะของเสื้อสูบที่เรามักพบเห็น
    กัน  บ่อยก็จะมีทั้ง แบบตัววี หรือแบบแถวเรียง


3. ลูกสูบ ( PISTON ) เป็นชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวขึ้น-ลง อยู่ในกระบอกสูบ   ลูกสูบนั้นจะต้องมีความแข็งแรงพอที่จะรับแรงกดดันและความร้อนที่
    เกิดขึ้นในห้องเผาไหม้ได้  หน้าที่ของลูกสูบก็คือ รับแรงกดดันจากการเผาไหม้และส่งกำลังนี้ไปสู่เพลาข้อเหวี่ยงโดยผ่านก้านสูบ  โดยปกติแล้วลูก
    สูบนั้นจะทำมาจากโลหะผสมอลูมิเนียม

 
4. แหวนลูกสูบ ( PISTON RING )  แหวนลูกสูบนั้นเป็นตัวป้องกันไม่ให้กำลังอัดรั่ว ซึ่งสามารถแบ่งออกมาได้ 2ชนิด คือ
          - แหวนอัด ( COMPRESSION ) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้กำลังอัดรั่วผ่านช่องว่างรอบๆลูกสูบ 
          - แหวนน้ำมัน ( OIL RING ) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณนํ้ามันที่หล่อเลี้ยงลูกสูบกับกระบอกสูบให้อยู่ในปริมาณที่พอดี
 
5. ก้านสูบ ( CONNECTING ROD )  ก้านสูบนั้นจะทำด้วยเหล็กผสมหรือเหล็กหล่อเหนียว หรือ อลูมิเนียมผสม  เพื่อให้แข็งแรงไม่ยืดหดตัว นํ้าหนัก 
    เบา ก้านสูบนั้นจะทำหน้าที่ต่อลูกสูบกับเพลาข้อเหวี่ยง โดยที่ปลายด้านเล็กนั้นจะยึดติดกับสลักลูกสูบ และปลายด้านใหญ่จะยึดติดกับเพลาข้อเหวี่ยง
    และจะถ่ายทอดกำลังไปสู่เพลาข้อเหวี่ยง

 
6. เพลาข้อเหวี่ยง ( CRANKSHAFT )  เพลาข้อเหวี่ยงเป็นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว โดยรับพลังงานมาจากห้องเผาไหม้ ซึ่งเปลี่ยนจากการขึ้น-ลง ของลูก
    สูบมาเป็นการหมุนแทน 

 
7. ฟลายวีล ( FLY WHEEL ) หรือล้อช่วยแรง  เป็นตัวสะสมพลังงานการหมุนที่ถูกส่งมาจากเพลาข้อเหวี่ยง และช่วยให้เครื่องยนต์ตัดต่อกำลังต่อไป
 
8. เพลาลูกเบี้ยว ( CAM SHAFT ) ส่วนปลายสุดของแคมชาฟท์นั้นจะมีเฟืองเพลาลูกเบี้ยว  ซึ่งจะถูกขับให้หมุนโดยเพลาข้อเหวี่ยง  เฟืองของเพลาลูก
    เบี้ยวจะใหญ่กว่าเฟืองข้อเหวี่ยงสองเท่า  จึงทำให้เพลาลูกเบี้ยวนั้นมีการหมุน 1รอบ แต่เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2รอบ  หน้าที่ของแคมชาฟท์นั้นคือ
    บังคับการปิด-เปิด ของลิ้นให้เป็นไปตามจังหวะของเครื่องยนต์  


9. อ่างนํ้ามันเครื่อง ( OIL PAN ) เป็นชิ้นส่วนที่ใช้เก็บนํ้ามันเครื่อง
 
10. ประเก็น ( GASKET ) เป็นตัวคั่นกลางระหว่างหน้าสัมผัสของโลหะเพื่อป้องกันการรั่ว  ซึ่งส่วนใหญ่ที่รู้จักกันก็จะมี ประเก็นฝาสูบ,ประเก็นอ่างนํ้ามัน
     เครื่อง เป็นต้น

11. ลิ้นไอดี (Intake Valve)  ทำหน้าที่ปิดและเปิดให้น้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในกระบอกสูบ

12. ลิ้นไอเสีย (Exhaust Valve )  ทำหน้าที่ปิดและเปิดให้แก๊สที่เกิดจากากรเผาไหม้ออกจากระบอกสูบ

ระบบจุดระเบิด

(Ignition system)

    แบตเตอรี่ของรถยนต์ ให้กระแสไฟฟ้าที่ความต่างศักย์ต่ำสำหรับระบบจุดระเบิด  ดังนั้นจึงต้องให้กระแสไหลเข้าสู่ขดลวดหรือคอยส์  (coil)  ซึ่งทำหน้าที่เหมือนหม้อแปลง  โดยจะเพิ่มความต่างศักย์ขึ้นเป็นหลายพันโวลต์  จากนั้นจานจ่าย  (Distributor)  จะส่งกระแสที่มีความต่างศักย์สูงไปยังกระบอกสูบแต่ละอัน  กระแสนี้ทำให้เกิดประกายไฟขึ้นที่หัวเทียน  (Spark  Plug)  ซึ่งจะจุดระเบิดน้ำมันในกระบอกสูบ




ระบบระบายความร้อน

(Cooling system)

    ประกอบด้วย  หม้อน้ำ  (Radiator)  และปั๊มน้ำ   น้ำจะถูกปั๊มอัดให้ไหลผ่านไปตามส่วนต่างๆของเครื่องยนต์   และไหลกลับมาระบายความร้อนที่หม้อน้ำ การระบายความร้อนใช้กับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่   ส่วนเครื่องยนต์ขนาดเล็กใช้อากาศช่วยระบายความร้อน  เช่นมอเตอร์ไซด์   และเครื่องตัดหญ้า   การระบายความร้อนด้วยอากาศมีข้อดีอยู่เหมือนกัน คือ เครื่องยนต์มีขนาดเบา  แต่ข้อเสียคือ ความร้อนค่อนข้างสูง   ทำให้อายุการใช้งานของเครื่องยนต์สั้น  และประสิทธิภาพต่ำ







ระบบไอดี

Air Intake System

     อากาศต้องไหลผ่านไส้กรองอากาศ ก่อนเข้าไปในกระบอกสูบ  ดังนั้นจึงเกิดแรงเสียดทานขึ้น  กำลังของเครื่องยนต์ตกลงได้ถ้าไส้กรองอุดตัน   การเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ให้สูงขึ้น  มีอีกวิธีหนึ่งคือเพิ่มแรงดันให้กับอากาศ  โดยอุปกรณ์ที่ใช้คือ  เทอร์โบชาร์จ   (Turbocharge)  หรือ ซุปเปอร์ชาร์จ  (Supercharge)   ซึ่งช่วยอัดอากาศก่อนที่จะไหลเข้าไปในกระบอกสูบ    นั่นหมายความว่าส่วนผสมของเชื้อเพลิงจะเข้าไปในกระบอกสูบได้มากขึ้น   ส่วนความแตกต่างของอุปกรณ์ทั้งสองคือ  เทอร์โบชาร์จใช้ไอเสียของรถยนต์เป็นตัวขับเคลื่อน  ส่วนซุปเปอร์ชาร์จใช้กำลังจากเครื่องยนต์โดยตรงขับเคลื่อน




        เทอร์โบชาร์จเจอร์


ระบบสตาร์ท

Starting System

 เมื่อคุณหมุนกุญแจเพื่อสตาร์ทรถ  มอเตอร์สตาร์ทจะหมุนเครื่องยนต์ด้วยความเร็วรอบค่าหนึ่ง จนกระทั่งเกิดการเผาไหม้ขึ้นภายในกระบอกสูบ   และเครื่องยนต์ติดขึ้น   

    มอเตอร์สตาร์ทจะต้อง

  • มีแรงมากกว่าแรงเสียดทานที่เกิดจากแหวนลูกสูบ
  • มีแรงมากกว่าแรงดันภายในกระบอกสูบขณะที่อยู่ในช่วงจังหวะอัด
  • มีพลังงานมากพอที่จะเปิดปิดวาวล์ได้
  • มีพลังงานมากพอที่จะไปหมุนน้ำมันเครื่อง  และอุปกรณ์ประกอบอื่น

เนื่องจากต้องใช้พลังงานมากในช่วงสตาร์ท  แต่ว่าแบตเตอรี่มีแรงดันไฟฟ้าเพียง  12  โวลต์   จึงต้องใช้ไฟหลายร้อยแอมป์หมุนมอเตอร์  ดังนั้นสายไฟต้องมีขนาดใหญ่เพื่อรองรับกระแสจำนวนมากในช่วงสตาร์ท



http://atcloud.com/stories/74695
                        
                          เครื่องยนต์ 4 สูบ



 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


automechanic

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
เครื่องกล