ประวัติแผนกวิชาช่างยนต์
แผนกวิชาช่างยนต์ได้เปิดการเรียนการสอนพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เมื่อ ปี พ.ศ. 2514 ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อว่า แผนกวิชาช่างยนต์และดีเซล มีนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)รุ่นแรกจำนวน 12 คน ต่อมาได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ ปี พ.ศ. 2525 เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และในปี พ.ศ.2536 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) จำนวน 1 รุ่นและได้ถูกยกเลิกเนื่องจากบุคลากรที่ผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการ
ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอน 2 ระดับ ดังนี้
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
สาขาวิชาช่างยนต์ ประกอบด้วย 1 สาขางาน ดังนี้
สาขางานยานยนต์
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล ประกอบด้วย 3 สาขางาน ดังนี้
สาขางานเทคนิคยานยนต์
สาขางานเทคนิคเครื่องกลอุตสาหกรรม
สาขางานเทคนิคยานยนต์ไฟฟ้า
ความร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จำนวน 2 สถานประกอบการ ดังนี้
- บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท อาร์ เอ็ม เอ ออโตโมทีฟ จำกัด
มาตรฐานการจัดการเรียนการสอนของแผนกวิชาช่างยนต์
นักเรียน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช.และปวส. จะต้องผ่านการสอบ ดังนี้
- มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)หรือ สคช.
- มาตรฐานวิชาชีพ
ความร่วมมือทางวิชาการที่สามารถทำได้ในอนาคต
ขอรับการสนับสนุนครุภัณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ ยานยนต์อัฉริยะและยานยนต์ไฟฟ้า