ประวัติแผนกวิชาช่างยนต์

      แผนกวิชาช่างยนต์ได้เปิดการเรียนการสอนพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เมื่อ ปี พ.ศ. 2514 ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อว่า แผนกวิชาช่างยนต์และดีเซล มีนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)รุ่นแรกจำนวน 12 คน ต่อมาได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ ปี พ.ศ. 2525 เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และในปี พ.ศ.2536 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) จำนวน 1 รุ่นและได้ถูกยกเลิกเนื่องจากบุคลากรที่ผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการ

ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอน 2 ระดับ ดังนี้

  1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

สาขาวิชาช่างยนต์  ประกอบด้วย 1 สาขางาน ดังนี้

        สาขางานยานยนต์

  1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล ประกอบด้วย 3 สาขางาน ดังนี้

สาขางานเทคนิคยานยนต์

สาขางานเทคนิคเครื่องกลอุตสาหกรรม

สาขางานเทคนิคยานยนต์ไฟฟ้า

ความร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จำนวน 2 สถานประกอบการ ดังนี้

  1. บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด
  2. บริษัท อาร์ เอ็ม เอ ออโตโมทีฟ จำกัด

 

 

 

มาตรฐานการจัดการเรียนการสอนของแผนกวิชาช่างยนต์

นักเรียน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช.และปวส. จะต้องผ่านการสอบ ดังนี้

  1. มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)หรือ สคช.
  2. มาตรฐานวิชาชีพ

 

ความร่วมมือทางวิชาการที่สามารถทำได้ในอนาคต

ขอรับการสนับสนุนครุภัณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ ยานยนต์อัฉริยะและยานยนต์ไฟฟ้า