ประกวดสื่อสันติภาพระดับชาติ 'รางวัลช่อมะกอก ปีที่ 8 ประจําปี 2565 : 8th Olive Branch Awards 2022'

สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดสื่อสันติภาพระดับชาติ 'รางวัลช่อมะกอก ปีที่ 8 ประจําปี 2565 : 8th Olive Branch Awards 2022' ชิงเงินนรางวัลมูลค่ารวม 100,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

ประเภทการประกวด

  1. ประเภทสุนทรพจน์
  2. ประเภทบทกวี
  3. ประเภทหนังสั้น
  4. ประเภทภาพถ่าย

ประเภทสุนทรพจน์

  1. คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
    • กําลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา หรือผู้ที่มีอายุเทียบเท่า
    • ส่งประเภทบุคคล คนละ 1 ผลงานเท่านั้น
  2. เนื้อหาของผลงานเป็นเรื่องราว เหตุการณ์ ปรากฏการณ์มุมมอง ความคิด ซึ่งเลือกหยิบยกประเด็นใดประเด็นหนึ่งมากล่าวถึงอย่างเด่นชัด เช่น “ความขัดแย้ง / ความรุนแรง / สันติวิธี/ ความยุติธรรม / สิทธิมนุษยชน / การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์/ สังคมพหุวัฒนธรรม / การอยู่ร่วมกันในสังคม / การกระทําต่อกันของมนุษย์ทั้งในเชิงโครงสร้างและปัจเจก” หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนําเสนอในเชิงการสะท้อนมนุษย์ สะท้อนสังคม เพื่อตีแผ่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น สามารถสร้างสรรค์วิธีการบอกเล่าใหม่ๆ ได้ โดยไม่จําเป็นต้องติดกรอบสุนทรพจน์ในรูปแบบเดิมๆ
  3. ตั้งชื่อเรื่องให้ชัดเจน โดยตั้งได้ตามอิสระของผู้เขียน
  4. ต้นฉบับเป็นตัวพิมพ์ขนาด 16 พ้อยต์ หากเป็นลายมือต้องเขียนตัวบรรจง ความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งเป็นความยาวที่ใช้เวลาในการกล่าวสุนทรพจน์ประมาณ 15 นาที
  5. ผลงานต้องเป็นการสร้างสรรค์ของผู้เขียน ใช้ภาษาไทยในการเขียนเป็นหลัก ต้องไม่ใช่งานแปล แปลงเลียนแบบ ลอก ทําซ้ําผลงานของผู้อื่น หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียว
  6. ต้องระบุชื่อ-สกุล ที่อยู่ ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง และชั้นปีที่กําลังศึกษา พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ ที่มีไว้ในเอกสารผลงานให้ชัดเจน สําหรับกรณีที่ผู้ส่งผลงานมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษา ให้ระบุชื่อ-สกุลไว้ด้วย หากผลงานเข้ารอบหรือได้รับรางวัล จะออกเกียรติบัตรให้เจ้าของผลงานและครู/อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีชื่อระบุไว้ในต้นฉบับที่ส่งเข้าประกวดเท่านั้น (ไม่สามารถขอเพิ่มชื่อภายหลังได้)
  7. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลที่ใดมาก่อน และต้องเป็นผลงานที่ลิขสิทธิ์เป็นของผู้ส่งผลงานโดยสมบูรณ์เพียงผู้เดียวเท่านั้น
  8. สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถนําผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกผลงาน รวมทั้งคลิปวิดีโอการกล่าวสุนทรพจน์รอบชิงชนะเลิศมาใช้ในการเรียน การสอน การวิจัย บริการวิชาการและเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปผ่านช่องทางต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงานอีก
  9. การตัดสินใช้ฉันทามติของคณะกรรมการ โดยพิจารณาจาก
    • เนื้อหา: มีความสอดคล้องและสื่อสะท้อนถึงประเด็นที่กําหนดและเกี่ยวข้องอย่างเด่นชัด โดยผู้เขียนสามารถตีความ ยกตัวอย่าง สร้างเรื่องราว บอกเล่าและนําเสนอในเชิงลึกได้
    • การสร้างสรรค์: เนื้อหา เรื่องราวมีความแตกต่าง ทั้งมุมมอง ความคิด รวมถึงรูปแบบ เทคนิค และวิธีการนําเสนอที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ยึดติดกับสุนทรพจน์รูปแบบเดิมๆ
    • ภาษา: ถูกต้อง กระชับ สวยงาม สื่อความได้อย่างเข้าใจ มีนัยยะและพลังทางวรรณกรรม
    • การกล่าวสุนทรพจน์: หากผลงานเข้ารอบชิงชนะเลิศ เจ้าของผลงานสามารถกล่าวสุนทรพจน์ได้ชัดตามอักขระวิธีด้วยน้ําเสียง ท่วงทํานอง สีหน้า ท่าทางที่เหมาะสมกับเพศและวัยของตน สามารถสื่ออารมณ์ ความรู้สึก และความเป็นตัวของตัวเองออกมาได้อย่างกลมกลืนกับเนื้อหา โดยไม่จําเป็นต้องยึดติดกับการกล่าวสุนทรพจน์ในรูปแบบเดิมๆ และใช้เวลาได้ตามที่กําหนดประมาณ 15 นาที
  10. ประกาศรายชื่อผลงานผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ภายในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ทางเพจโครงการประกวดสื่อสันติภาพรางวัลช่อมะกอก และเว็บไซต์สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  11. สุนทรพจน์ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 4 ผลงาน ผู้เขียนจะต้องกล่าวสุนทรพจน์รอบชิงชนะเลิศในรูปแบบออนไลน์ ในงาน ม.อ.วิชาการ ประจําปี 2565 ของสถาบันสันติศึกษา วันที่ 17 สิงหาคม 2565 หากไม่สามารถกล่าวสุนทรพจน์รอบชิงชนะเลิศในวันเวลาที่กําหนดได้ถือว่าสละสิทธิ์จากการประกวด และคณะกรรมการจะให้สิทธิ์แก่ผลงานลําดับสํารองเข้ามาแทน

ประเภทบทกวี

  1. คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
    • กําลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษา หรือผู้ที่มีอายุเทียบเท่า
    • ส่งประเภทบุคคล ไม่จํากัดจํานวนผลงาน
  2. เนื้อหาของผลงานเป็นเรื่องราว เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ มุมมอง ความคิด ซึ่งเลือกหยิบยกประเด็นใดประเด็นหนึ่งมากล่าวถึงอย่างเด่นชัด เช่น “ความขัดแย้ง / ความรุนแรง / สันติวิธี/ ความยุติธรรม / สิทธิมนุษยชน / การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์/ สังคมพหุวัฒนธรรม / การอยู่ร่วมกันในสังคม / การกระทําต่อกันของมนุษย์ทั้งในเชิงโครงสร้างและปัจเจก” หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนําเสนอในเชิงการสะท้อนมนุษย์ สะท้อนสังคม เพื่อตีแผ่ความจริงที่เกิดขึ้น
  3. ตั้งชื่อเรื่องให้ชัดเจน โดยตั้งได้ตามอิสระของผู้เขียน
  4. เขียนเป็นบทกวีฉันทลักษณ์หรือบทกวีไร้ฉันทลักษณ์ก็ได้ โดยต้นฉบับเป็นตัวพิมพ์ขนาด 16 พ้อยต์ หากเป็นลายมือเขียนต้องเขียนตัวบรรจง
    • บทกวีฉันทลักษณ์ ความยาวไม่เกิน 10 บท
    • บทกวีไร้ฉันทลักษณ์ (กลอนเปล่า) ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4
  5. เป็นงานริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เขียน ใช้ภาษาไทยในการเขียนเป็นหลัก ต้องไม่ใช่งานแปล แปลงเลียนแบบ ลอก ทําซ้ําผลงานของผู้อื่น หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียว
  6. ต้องระบุชื่อ-สกุล ที่อยู่ ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง และชั้นปีที่กําลังศึกษา พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ ที่มีไว้ในเอกสารผลงานให้ชัดเจน สําหรับกรณีที่ผู้ส่งผลงานมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษา ให้ระบุชื่อ-สกุลไว้ด้วย หากผลงานเข้ารอบหรือได้รับรางวัล จะออกเกียรติบัตรให้เจ้าของผลงานและครู/อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีชื่อระบุไว้ในต้นฉบับที่ส่งเข้าประกวดเท่านั้น (ไม่สามารถขอเพิ่มชื่อภายหลังได้
  7. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากที่ใดมาก่อน และต้องเป็นผลงานที่ลิขสิทธิ์เป็นของผู้ส่งผลงานโดยสมบูรณ์เพียงผู้เดียวเท่านั้น
  8. สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถนําผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกผลงาน มาใช้ในการเรียน การสอน การวิจัย บริการวิชาการ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปทางสื่อต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงานอีก
  9. การตัดสินใช้ฉันทามติของคณะกรรมการ โดยพิจารณาจาก
    • เนื้อหา: มีความสอดคล้องและสื่อสะท้อนถึงประเด็นที่กําหนดและเกี่ยวข้อง โดยผู้เขียนสามารถตีความ ยกตัวอย่าง สร้างเรื่องราว บอกเล่าและนําเสนอในเชิงลึกได้
    • การสร้างสรรค์: เนื้อหา เรื่องราว มีความแปลกแตกต่าง ทั้งมุมมอง ความคิด รวมถึงรูปแบบเทคนิคและวิธีการนําเสนอที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบตามแนวขนบเดิมๆ
    • ภาษา: ถูกต้อง กระชับ สวยงาม สื่อความได้อย่างเข้าใจ มีนัยยะและพลังทางวรรณกรรม
  10. ประกาศรายชื่อผลงานผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ภายในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ทางเพจโครงการประกวดสื่อสันติภาพรางวัลช่อมะกอก และเว็บไซต์สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และประกาศผลการตัดสินพร้อมมอบรางวัลในงาน ม.อ.วิชาการ ประจําปี 2565 วันที่ 17 สิงหาคม 2565 ณ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ประเภทหนังสั้น

  1. คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
    • กําลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษา หรือผู้ที่มีอายุเทียบเท่า
    • ส่งประเภทบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ไม่จํากัดจํานวนผลงาน
  2. เนื้อหาของผลงานเป็นเรื่องราว เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ มุมมอง ความคิด ซึ่งเลือกหยิบยกประเด็นใด ประเด็นหนึ่งมากล่าวถึงอย่างเด่นชัด เช่น “ความขัดแย้ง / ความรุนแรง / สันติวิธี/ ความยุติธรรม / สิทธิมนุษยชน / การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์/ สังคมพหุวัฒนธรรม / การอยู่ร่วมกันในสังคม / การกระทําต่อกันของมนุษย์ทั้งในเชิงโครงสร้างและปัจเจก” หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนําเสนอในเชิงการสะท้อนมนุษย์ สะท้อนสังคม เพื่อตีแผ่ความจริงที่เกิดขึ้น
  3. ใช้มือถือหรือกล้องชนิดใดถ่ายก็ได้ ไม่จํากัดรูปแบบและเทคนิคการนําเสนอ
  4. ผลงานเป็นงานริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ไม่ใช่แปลง เลียนแบบ ลอก ทําซ้ํา ผลงานของผู้อื่น หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียว
  5. ส่งผลงานเป็นไฟล์ MP4 Full HD ความยาวไม่เกิน 15 นาทีโดยตั้งชื่อหนังไว้อย่างชัดเจน
  6. ต้องระบุชื่อ-สกุล ที่อยู่ ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง และชั้นปีที่กําลังศึกษา พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ ที่มีไว้ในเอกสารผลงานให้ชัดเจน สําหรับกรณีที่ผู้ส่งผลงานมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษา ให้ระบุชื่อ-สกุลไว้ด้วย หากผลงานเข้ารอบหรือได้รับรางวัล จะออกเกียรติบัตรให้เจ้าของผลงานและครู/อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีชื่อระบุไว้ในต้นฉบับที่ส่งเข้าประกวดเท่านั้น (ไม่สามารถขอเพิ่มชื่อภายหลังได้
  7. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลที่ใดมาก่อน และผลงานเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ส่งผลงานหรือกลุ่มของผู้ส่งผลงานโดยสมบูรณ์เพียงผู้เดียวหรือกลุ่มเดียวเท่านั้น
  8. สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถนําผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกผลงาน มาใช้ในการเรียน การสอน การวิจัย บริการวิชาการ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปทางสื่อต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน
  9. เกณฑ์การตัดสินหนังสั้น ใช้การตัดสินแบบฉันทามติจากคณะกรรมการ โดยพิจารณาจาก
    • เนื้อหา: มีความสอดคล้องและสะท้อนถึงประเด็นที่กําหนด โดยผู้เขียนสามารถตีความและนําเสนอในเชิงลึกได้
    • การสร้างสรรค์: เนื้อหาหรือเรื่องราวมีความแปลกใหม่ ทั้งมุมมอง ความคิด รวมถึงรูปแบบ เทคนิค หรือวิธีการในการนําเสนอที่มีลักษณะเฉพาะตัว
    • ภาพและบทหนัง: สื่อความเรื่องราวได้อย่างมีนัยยะและพลังทางศิลปะ(ภาพยนตร์)
  10. ประกาศรายชื่อผลงานผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ภายในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ทางเพจโครงการประกวดสื่อสันติภาพรางวัลช่อมะกอก และเว็บไซต์สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และประกาศผลการตัดสินพร้อมมอบรางวัลในงาน ม.อ.วิชาการ ประจําปี 2565 วันที่ 17 สิงหาคม 2565 ณ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ประเภทภาพถ่าย

  1. คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
    • นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
    • ส่งประเภทบุคคล คนละไม่เกิน 3 ภาพ
  2. เนื้อหาของผลงานเป็นเรื่องราว เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ มุมมอง ความคิด ซึ่งเลือกหยิบยกประเด็นใดประเด็นหนึ่งมากล่าวถึงอย่างเด่นชัด เช่น “ความขัดแย้ง / ความรุนแรง / สันติวิธี / ความยุติธรรม / สิทธิมนุษยชน / การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ / สังคมพหุวัฒนธรรม / การอยู่ร่วมกันในสังคม / การกระทําต่อกันของมนุษย์ทั้งในเชิงโครงสร้างและปัจเจก” หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนําเสนอในเชิงการสะท้อนมนุษย์ สะท้อนสังคม เพื่อตีแผ่ความจริงที่เกิดขึ้น
  3. ผลงานภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายโดยการใช้กล้อง Digital ในทุกรูปแบบ (DSLR, Mirrorless, Compact, Drone, Action Camera และ Smartphone) โดยไฟล์ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นภาพที่มีความละเอียดสูง โดยกําหนดขนาดภาพไม่ต่ำกว่า 5 ล้าน Pixel และต้องไม่มีลายน้ำ ตัวอักษร เครดิตภาพ หรือกราฟิกใดๆ บนภาพ รวมทั้ง ห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใดๆ โดยมีขนาดความจุไฟล์ภาพละไม่ต่ำกว่า 2.5 MB
  4. ตั้งชื่อภาพถ่ายให้ชัดเจน โดยตั้งได้ตามอิสระของเจ้าของภาพ และกําหนดให้ชื่อภาพถ่ายเป็นชื่อไฟล์ภาพนั้นๆ พร้อมเขียนคําอธิบายแนวความคิดของภาพไม่เกิน 3 บรรทัดแนบมาด้วย
  5. ต้องระบุชื่อ-สกุล ที่อยู่ ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง และชั้นปีที่กําลังศึกษา พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ ที่มีไว้ในเอกสารผลงานให้ชัดเจน สําหรับกรณีที่ผู้ส่งผลงานมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษา ให้ระบุชื่อ-สกุลไว้ด้วย หากผลงานเข้ารอบหรือได้รับรางวัล จะออกเกียรติบัตรให้เจ้าของผลงานและครู/อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีชื่อระบุไว้ในต้นฉบับที่ส่งเข้าประกวดเท่านั้น (ไม่สามารถขอเพิ่มชื่อภายหลังได้)
  6. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์ภาพถ่ายนั้นๆ ด้วยตนเอง ห้ามทําซ้ํา ดัดแปลง เลียนแบบภาพถ่ายของบุคคลอื่น หรือนําภาพถ่ายของผู้อื่นมาส่งในนามของตน ทั้งนี้หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียว
  7. ภาพที่ส่งเข้าประกวด สามารถปรับแต่งภาพถ่ายได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่ตัดต่อ ปรับแต่งภาพถ่ายให้ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ทั้งนี้ให้ถือดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสินเป็นที่สิ้นสุด
  8. ผลงานภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นภาพที่เจ้าของภาพไม่เคยส่งประกวดที่ใดมาก่อน และ/หรือ ต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรือโฆษณาผ่านสื่อใดๆ ที่เป็นไปในทางการค้า หรือเชิงพาณิชย์ และไม่เป็นภาพที่ส่งขายอยู่ในคลังภาพ (Stock Photo) ไม่ว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศ
  9. สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถนําผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกผลงาน มาใช้ในการเรียน การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การจัดนิทรรศการ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปทางช่องทางต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงานอีก
  10. การตัดสินใช้ฉันทามติจากคณะกรรมการ โดยพิจารณาจาก
    • ความสอดคล้องและสื่อสะท้อนถึงประเด็นที่กําหนด ทั้งความหมายของภาพและคําอธิบาย แนวความคิดของภาพ
    • ความสวยงาม การจัดวางองค์ประกอบ ตามหลักทัศนศิลป์
    • เทคนิคการถ่ายภาพ
  11. ประกาศรายชื่อผลงานผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ภายในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ทางเพจโครงการประกวดสื่อสันติภาพรางวัลช่อมะกอก และเว็บไซต์สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และประกาศผลการตัดสินพร้อมมอบรางวัลในงาน ม.อ.วิชาการ ประจําปี 2565 วันที่ 17 สิงหาคม 2565 ณ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รางวัลการประกวด

  1. ประเภทสุนทรพจน์
    • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 2 รางวัล
  2. ประเภทบทกวี
    • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
  3. ประเภทหนังสั้น
    • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
  4. ประเภทภาพถ่าย
    • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล

หมายเหตุ ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด และขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่มอบรางวัลใดรางวัลหนึ่ง หากผลงานที่ส่งเข้าประกวดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่คณะกรรมการกําหนด

การส่งผลงาน

  • ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565
  • ส่งทางไปรษณีย์ อีเมล์ หรือส่งด้วยตนเองที่
    สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    15 ถนนกาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
    E-mail: olivebranch.IPS@gmail.com

ติดต่อสอบถาม
โทร. 074-289463, 081-0991005 (คุณนิวดี)

ข่าวประชาสัมพันธ์ : คุณนิวดี สาหีม / สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


media

สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ไม่ระบุ