เทคนิคการสอนช่างอุตสาหกรรม

วิธีการสอนช่างอุตสาหกรรม โดย อ.ดร. ชูศักดิ์ เปลี่ยนภู่

การสอนช่างอุตสาหกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็นวิธีการสอนดังนี้

1.  การสอนชั่วโมงแรก

2.  การสอนโดยใช้เอกสารการสอน(Sheet)

3.  การสอนสาธิต

4.  การสอนพิสูจน์สูตร

5.  การสอนVector

6.  การสอนตัวอย่าง

7.  การสอนแก้ปัญหา

8.  การสอนConcept

1. การสอนชั่วโมงแรก

การสอนชั่วโมงแรกนี้ไม่ใช่วิธีสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะเป็นการนำเอา วิธีการต่างๆของการสอนในชั้นเรียนมาประยุกต์เพื่อสร้างบรรยากาศความคุ้นเคยและความ เป็นกันเองอย่างมีขอบเขตการสร้างสภาวะของความคุ้นเคย และเป็นกันเองนี้มีความจำเป็น มากสำหรับการสอน เพราะจะทำให้ผู้เรียนมีความกล้า และสบายใจที่จะตอบสนองกับ ปัญหาทางวิชาการได้อย่างเดียวผู้สอนเองก็มีความสบายใจที่จะดำเนินงานไปตลอดภาค เรียน ภายใต้ของการเป็นมิตรและสายตาของการยอมรับจากผู้เรียน อย่างไรก็ตามผู้สอน ก็ต้องรู้จักการสร้างความเป็นกันเอง อย่างมีขอบเขตมิให้ล่วงล้ำเกินเส้นจนผู้เรียนขาดความ เกรงใจที่จะทำอะไรอย่างไม่มีระเบียบสภาพการเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะสร้างได้โดย ปราศจากการเตรียมตัวและการฝึกฝนพอสมควร

2. การสอนโดยใช้เอกสารการสอน(Sheet)

การสอนโดยใช้เอกสารการสอนหมายถึงการสอนหน้าชั้นของครูในลักษณะของการ อธิบายจากเอกสารที่แจกให้กับนักเรียน ผู้สอนจะต้องหาวิธีให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และ อ่านข้อมูลในเอกสารเพื่อศึกษารายละเอียดของข้อมูลผู้สอนควรละเว้นการพูดหรืออธิบาย ซ้ำกับเนื้อหาที่มีอยู่ในเอกสารแล้วแต่ควรจะเป็นผู้นำให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ ของข้อมูล และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นสำคัญต่างๆ ทำให้เกิดความรอบรู้ (Generalization) ในเนื้อหาที่มีอยู่

3. การสอนสาธิต

การสาธิต คือ การสอนที่มีการอธิบาย ประกอบการแสดง (live display) โดยอาศัย เครื่องมือจริงหรือ Model สำหรับการให้ข้อมูลที่เป็น Fact , Idea , หรือ Process ของการ ทำงาน การสาธิตอาจเรียกได้ว่าเป็น Visualized explanation การสาธิตที่ดีนั้นควรประกอบ ด้วยการบอกเล่า (Telling) การแสดง (Showing) และการกระทำ (doing) ในการสอนภาค ปฏิบัตินั้น การสาธิตเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องและรวดเร็ว และเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของผู้สอนจะต้องเลือกเนื้อหาที่จำเป็นสำหรับการสาธิตให้ผู้เรียน ได้เห็น

4. การสอนพิสูจน์สูตร

เนื้อหาวิชาช่างไฟฟ้าส่วนมากประกอบด้วยการคำนวณซึ่งต้องอาศัย กฎ สูตร หรือ สมการต่างๆ ซึ่งมีอยู่มาก และมีความยากง่ายของกฎ , สูตร อยู่หลายระดับ ซึ่งบางสูตร อาจจดจำได้ง่าย แต่บางสูตรก็มีความสลับซับซ้อน ยากต่อการจดจำหรือทำความเข้าใจ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก สูตรต่างๆเหล่านั้นประกอบด้วยหลักการ(Principle) โดยความยากง่าย นั้นจะขึ้นกับจำนวนของหลักการที่ประกอบกันขึ้นเป็นสูตรในการแก้ปัญหาต่างๆ ทาง ไฟฟ้า ต้องอาศัย กฎ , สูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ ผู้เรียนจะต้องรู้ว่า กฎ , สูตร ใดจำเป็นต่อการแก้ปัญหาดังนั้นผู้เรียนจำเป็นต้องมีความสามารถในการระลึกสูตรเลือก ใช้สูตรได้อย่างถูกต้องและสามารถนำวิธีการใช้สูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. การสอน Vector

การสอน Vector เป็นการสอนที่เหมาะกับเนื้อหาช่างอุตสาหะกรรม เช่น เนื้อหาวิชา Electromagnetic , Motor , หม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาของวิชาเหล่านี้จะต้องอาศัย คุณสมบัติของ Vector คือมีทั้งขนาดและทิศทาง ในการช่วยในการสอนทำให้ผู้เรียนมีความ เข้าใจง่ายมากขึ้น

6. การสอนตัวอย่าง

เป็นการสอนที่ผู้สอนได้สอนหลักการ(Principle) ไปแล้วและใช้หลักการในการแก้ ปัญหาโดยใช้โจทย์ตัวอย่างในการอธิบายให้ผู้เรียนได้เห็นภาพการแก้ปัญหา และการนำ ไปใช้งานจริงๆ

7. การสอนแก้ปัญหา วิธีการสอนแก้ปัญหา

เป็นวิธีการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกรวบรวมข้อมูลที่ได้เคยเรียนผ่านมา แล้วประยุกต์ให้เข้ากับปัญหาที่ต้องการแก้ไข และฝึกให้สามารถสร้างระบบของการหา คำตอบของปัญหา จากหลักการเบื้องต้นนี้จะสามารถสร้างให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็นซึ่งมีรากฐานมาจากความจริงในชีวิตที่ต้องประสบกับปัญหาตลอดเวลา ดึงนั้นการที่ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ปัญหาด้วยตัวเองก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น ในสังคม

8. การสอน Concept ความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์(Concept)

ภาพที่เกิดในใจของบุคคลเกี่ยวกับกลุ่มของสิ่งเร้าที่มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะ ร่วมกัน ผู้สอนที่มีประสบการณ์จะเห็นด้วยว่า การสอนให้นักเรียนคิดนั้น สำคัญกว่า การสอนแต่เนื้อหาวิชา นอกจากนี้ผู้สอนยังรู้อีกว่า มโนทัศน์(Concept)นั้นเป็นพื้นฐาน ของการคิด โดยเฉพาะในการคิดระดับสูงไม่ว่าจะเป็นรายวิชาใดๆก็ตามเพราะ Concept ช่วยให้บุคคลแต่ละคนสามารถแยกประเภทของสิ่งของ (Object) และความคิด(ideas) ได้รวมทั้งรู้ที่มาของกฎ(rules) และหลักการ(Principle) อีกด้วย สำหรับกระบวนการ ในการเรียนรู้ Concept นั้นจะเริ่มตั้งแต่วัยเด็กและต่อเนื่องตลอดไปชั่วชีวิตมนุษย์ทั้งที่ เรียนในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ซึ่งมนุษย์จะสามารถพัฒนา Concept ที่ยากมากขึ้น ดังนั้น การเรียนรู้เรื่อง Concepts จึงมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนภายในโรงเรียน และชีวิตประจำวันเพราะ Concepts ช่วยให้มนุษย์สามารถเข้าใจซึ่งกันและกัน และเป็น พื้นฐานของการติดต่อสัมพันธ์กันทางด้านภาษาระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองอีกด้วย.

http://www.kmutt.ac.th/organization/Education/Electrical/think/t7.htm#8

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


KRUNUT

Status : ผู้ใช้ทั่วไป
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์