ความหมายของการประมาณราคาก่อสร้าง
การประมาณราคา
เนื้อหา |
แนวทางการประมาณราคาสำหรับงานราชการ
ราคากลาง คือ ราคามาตรฐานที่ใกล้เคียงความจริงซึ่งสามารถก่อสร้างหรือจัดหาได้จริง และใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้เข้าประกวดราคายื่นเสนอ
ความแตกต่างของต้นทุน (Cost) และราคา (Price)
ต้นทุน หมายถึง ผลรวมของทรัพยากรที่จะต้องใช้เพื่อการผลิตและนำผลิตภัณฑ์นั้นออกจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์
ราคา หมายถึง มูลค่าที่จะนำไปใช้ในลักษณะของการตลาด ราคาอาจจะเท่ากับต้นทุนหรือราคาอาจจะถูกปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของตลาด ราคาเป็นคุณค่าที่ผู้ทำผลิตภัณฑ์เป็นผู้กำหนด และปรกติราคาจะสูงกว่าต้นทุนการผลิตและการจำหน่าย โดยมีการบวกกำไรที่คาดหวังเข้าไปในราคานั้นแล้ว
การประมาณต้นทุน
การประมาณ หมายถึง การวิเคราะห์ การให้ความเห็น การพยากรณ์ หรือการคาดหมายล่วงหน้า ดังนั้นการประมาณต้นทุนจึงเป็นการวิเคราะห์ หรือการให้ความเห็นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานหรือกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเป็นการทำผลิตภัณฑ์ การจัดทำโครงการ หรือการผลิตงานบริการ
การประมาณ (คำนาม) หมายถึง การประเมินค่าแบบให้ออกมาในรูปของค่าใช้จ่าย หรือให้เป็นจำนวนหรือเป็นมูลค่า
การประมาณ (กริยา) หมายถึงประเมินค่า กำหนดค่า หรือตีราคา
การประมาณ เป็นศิลปะของการประมาณการเกี่ยวกับคุณค่าหรือค่าใช้จ่ายที่อาจเป็นไปได้ โดยอาศัยข้อมูลที่สามารถจะหาได้ในขณะนั้น ขอบเขตงานประมาณยังรวมถึงการสะสมข้อมูล การจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และยังครอบคลุมถึงการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับชั่วโมงแรงงานและค่าวัตถุ
องค์ประกอบของราคา
- วัสดุ
- วัสดุธรรมชาติ
- แหล่งวัสดุ
- วัสดุจากการผลิต
- แรงงานในการผลิต
- เครื่องจักรในการผลิต
- แรงงานในการลำเลียง
- ค่าขนส่ง
- ความสูญเสีย
- ค่าแรง
- แรงงานคน
- เครื่องมือ
- เครื่องจักร
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Factor F)
- ค่าดำเนินการ
- กำไร
- ภาษี
- ดอกเบี้ย
- เวลา
- ฯลฯ
ข้อควรพิจารณาเพื่อเป็นแนวทางในการประมาณราคา
เตรียมการ
- ศึกษา แบบ ข้อกำหนด และเอกสารประกวดราคา
- จัดแบ่งหมวดหมู่ของงาน
- จัดทำบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา
การดำเนินงาน
- ถอดแบบ
- จัดทำต้นทุนต่อหน่วย
- พิจารณาค่า Factor “F” ที่เหมาะสม สรุปเป็นราคาโครงการ
- ตรวจทาน
การเก็บข้อมูล
- รวบรวมราคางานที่ได้จัดทำไว้ แยกเป็นหมวดหมู่
- มีระบบการจัดเก็บที่ดี
- ติดตามผลการประกวดราคา เปรียบเทียบราคากับราคากลาง
- การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
แบบฟอร์มที่ใช้ในการประมาณราคา (ในไทย)
จากเอกสารของกรมโยธาธิการและผังเมือง มีดังนี้[1]
- แบบฟอร์ม ปร. 1 ใช้ประมาณการถอดแบบหาปริมาณงานและวัสดุทั่วไป
- แบบฟอร์ม ปร. 2 ใช้ประมาณการถอดแบบงานคอนกรีต ไม้แบบ ไม้ค้ำยันและเหล็กเสริม
- แบบฟอร์ม ปร. 3 ใช้ประมาณการถอดแบบงานไม้
- แบบฟอร์ม ปร. 4 ใช้สำหรับรวมปริมาณงานแต่ละประเภท
- แบบฟอร์ม ปร. 5 ใช้สรุปราคาค่าก่อสร้าง
- แบบฟอร์ม ปร. 6 ใช้สรุปราคาค่าก่อสร้าง กรณีมีการก่อสร้างหลายงานหรือใช้เปรียบเทียบราคา
Back up Sheets
Back up Sheets คือ กระดาษคำนวณแสดงที่มา ของปริมาณวัสดุ หรือต้นทุนต่อหน่วยของงานแต่ละประเภท Back up Sheets ที่ดี ควรมีความละเอียด ชัดเจน และแสดงแหล่งที่มาของข้อมูล
Factor F
Factor F คือ ค่าตัวเลขซึ่งกำหนดขึ้นตามมติคณะกรรมการควบคุมราคากลาง (ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2546) ใช้คูณราคาต่อหน่วยของต้นทุน (Unit Cost) ออกมาเป็น ราคาค่างานของโครงการ Factor F ประกอบด้วย ค่าอำนวยการ ดอกเบี้ย กำไร และภาษี[2] แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ค่า K
ค่า “K” หรือ ESCALATION FACTOR คือ ตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน ณ ระยะเวลาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเปิดซองประกวดราคาได้ เปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ส่งงานในแต่ละงวด โดยมีเงื่อนไขสำคัญ[6] ดังนี้
- จะใช้ค่า K ได้เฉพาะในกรณีที่ผู้รับเหมารับงานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
- ในการทำสัญญาว่าจ้าง คู่สัญญาจะต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่า เป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้าง
การนำ 'ค่า K' มาใช้ เริ่มจากในช่วงปี 2516 - 2517 เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยน้ำมันและวัสดุก่อสร้างสำคัญ คือ เหล็กสำเร็จรูป ต่างๆ ขาดแคลนและราคาสูงขึ้นมาก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจก่อสร้างโดยตรงและรุนแรง ผู้รับเหมาต่างได้รับความเดือดร้อน บางรายหยุดดำเนินการ บางรายละทิ้งงาน เพราะไม่สามารถรับภาระขาดทุนได้ ขณะเดียวกัน ผู้จ้างเหมาก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้นำ 'ค่า K' มาใช้ เพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมาให้ได้รับการชดเชยค่าเสียหาย ทั้งนี้มีคณะอนุกรรมการเป็นผู้กำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข สูตร ประเภท และลักษณะงานที่เข้าข่ายสามารถขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาลได้ จนถึงปี 2524 รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการใช้ 'ค่า K' เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้นำ 'ค่า K' มาใช้อีกครั้ง เนื่องจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราสูง ก่อให้เกิดการลงทุนอย่างมากในธุรกิจหลายสาขา โดยเฉพาะธุรกิจการก่อสร้าง เพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ขยายตัว เป็นเหตุให้วัสดุก่อสร้างสำคัญ คือ เหล็กเส้นขาดแคลนและราคาสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือโดยมีมติดังกล่าว ให้ใช้ 'ค่า K' มาจนถึงปัจจุบัน
- องค์ประกอบของค่า K
ค่า K ประกอบด้วยตัวแปรต่าง ๆ ดังนี้
- M = ดัชนีราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง (ไม่รวมเหล็กและซีเมนต์)
- S = ดัชนีราคาเหล็ก
- C = ดัชนีราคาซีเมนต์
- G = ดัชนีราคาเหล็กแผ่นเรียบ
- F = ดัชนีราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
- A = ดัชนีราคาแอสฟัลท์
- E = ดัชนีราคาเครื่องจักรกลและบริภัณฑ์
- GIP = ดัชนีราคาท่อเหล็กอาบสังกะสี
- AC = ดัชนีราคาท่อซีเมนต์ใยหิน
- PVC = ดัชนีราคาท่อ PVC
- PE = ดัชนีราคาท่อ HYDENSITY POLYETHYLENE
- W = ดัชนีราคาสายไฟฟ้า
- I = ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ
ความละเอียดถูกต้องในการประมาณราคา
ประเภทและความละเอียดถูกต้องในการประมาณราคา[7]
- Estimates for Conceptual Planning
- Estimates for Feasibility
- Estimates during Engineering and design
- Estimates for Construction
- Estimates for Change Orders
รายการงานตรวจสอบ (Checklist)
- ได้รับแบบครบถ้วนหรือไม่
- แบบที่ได้รับเป็นฉบับล่าสุดหรือไม่
- แบบที่ใช้ในการถอดแบบเป็นฉบับล่าสุดหรือไม่
- ข้อมูลระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็นต้องรื้อย้าย ก่อสร้างใหม่มีครบถ้วนหรือไม่
- ได้คำนึงถึงวิธีการก่อสร้างว่าจำเป็นต้องมีงานชั่วคราว เช่น Sheet Pile, Coffer Dam หรือการสูบน้ำระหว่างการก่อสร้างหรือไม่
- ได้คำนวณปริมาณงานของงานชั่วคราวเพื่อใช้ในการประมาณราคาหรือไม่
- เข้าใจในวิธีการก่อสร้างหรือไม่
- ได้สอบทานตัวเลขและการคำนวณแล้วหรือไม่
- หน่วยที่ใช้ถูกต้องหรือไม่
- ปริมาณงานครบถ้วนหรือไม่
- Back up Sheet ชัดเจนและสะดวกในการตรวจสอบหรือไม่
- Back up Sheet ครบถ้วนหรือไม่
- ลายมือ ตัวเลข ชัดเจนหรือไม่
- ตรวจสอบ พิสูจน์อักษรแล้วหรือไม่
- กรณีใช้ คอมพิวเตอร์ ช่วยในการคำนวณ มีรายละเอียดสูตรการคำนวณ และตัวอย่างหรือไม่
- ระบบการจัดเก็บเป็นอย่างไร ฟลอปปีดิสก์ที่ใช้ จะต้องมีระบบการจัดเก็บ
- ได้ตรวจสอบดูสถานที่ก่อสร้างหรือไม่
- ราคาวัสดุ Update หรือไม่
- หน่วยในการจ่ายเงินสอดคล้องกับข้อกำหนดทางเทคนิค (Specifications) และบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (Bill of Quantities/B.O.Q.) หรือไม่
- กรณีที่บัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (Bill of Quantities/B.O.Q.) ระบุให้ใส่ค่า K (Escalation Factor, สูตรการปรับราคา) ถูกต้องและสอดคล้องกับเอกสารประกวดราคาหรือไม่
- Factor F (ค่าดำเนินการ กำไร และภาษี) Update และถูกต้องตามระเบียบของทางราชการหรือไม่
- ระบบการจัดเก็บเอกสาร (Filing) การผลิต (Reproduction) และการแจกจ่าย (Distribution) ปลอดภัยและเน้นว่าเป็นเอกสาร “ลับ” หรือไม่
- ราคาวัสดุที่ใช้เป็นราคาที่รวมค่าขนส่งถึงสถานที่ก่อสร้างแล้วหรือไม่
- งานดินขุดรวมค่าขนส่งดินไปทิ้งแล้วหรือไม่
- แบบที่ใช้ในการถอดแบบมีข้อมูลครบถ้วนหรือไม่ เช่น กำลังของคอนกรีต ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม ความยาวของเสาเข็มและอื่น ๆ
- มีรายการวัสดุครบถ้วนหรือไม่
- งานที่มีความต่อเนื่องและเกี่ยวพันกัน มีการแบ่งแยกงานจากกันชัดเจนหรือไม่และต้องสามารถตรวจสอบได้ง่าย
- วัสดุที่ระบุให้ใช้ตามแบบ มีขายในท้องตลาดหรือไม่
- ใบเสนอราคามีครบถ้วนหรือไม่
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ไฟล์บีบอัด)
- The International Cost Engineering Council
- The Society of Cost Estimating and Analysis (SCEA)
- The Association for the Advancement of Cost Engineering
- International Construction Information Society. A Description and Comparison of National Specification Systems. (เอกสาร PDF)
- Construction Specifications Institute (CSI). MasterFormat? 2004 Edition: Numbers & Titles. (เอกสาร PDF)
- ราคาวัสดุก่อสร้าง โดย สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
- [1], หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง (ไฟล์บีบอัด)
- แนวทางปฏิบัติและรายละเอียดประกอบ (ไฟล์บีบอัด)
- งานก่อสร้างอาคาร (ไฟล์บีบอัด)
- งานก่อสร้างทาง สะพาน และท่อเหลี่ยม (ไฟล์บีบอัด)
- งานก่อสร้างชลประทาน (ไฟล์บีบอัด)
- หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางของงานก่อสร้างอาคาร ของกรมโยธาธิการและผังเมือง (เอกสาร PDF)
- มาตรฐานงบประมาณ บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ปี 2549
- บัญชีราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (กุมภาพันธ์ 2550) , ราคาวัสดุก่อสร้างมวลรวมต่อหน่วยตามมาตรฐานงานช่าง กรกฎาคม 2549 , บัญชีค่าแรงงานที่ใช้ประกอบการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร ปี 2548
- บัญชีอัตราราคางานต่อหน่วย (ตุลาคม 2549) , เกณฑ์ราคาค่าก่อสร้างทาง น้ำ และเขื่อน โดย สำนักงบประมาณ
- Factor F สำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
- หลักเกณฑ์การใช้ตาราง Factor F
- [2], ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (เอกสาร PDF)
- Project Management for Construction Fundamental Concepts for Owners, Engineers, Architects and Builders
- แนวทางการจัดการข้อมูลงานก่อสร้างสำหรับการประเมินและควบคุมราคางานก่อสร้าง โดย คณะอนุกรรมการ สาขาบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- แนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างในส่วนของงานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรม โดย คณะอนุกรรมการ สาขาบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- การประมาณต้นทุน ศ. พล.ท. มณเฑียร ประจวบดี
- กลยุทธ์การวิเคราะห์ราคางานก่อสร้าง โดย อ. ปริญญา ศุภศรี
- การประมูลและควบคุมต้นทุน โดย อ. ปริญญา ศุภศรี
- การประมาณราคาก่อสร้าง โดย รศ. ดร. พิภพ สุนทรสมัย
- ประมาณราคางานก่อสร้าง โดย อ. อุทัย อนันต์
- ข้อมูลต้นทุนงานก่อสร้าง โดย ผศ. วิสูตร จิระดำเกิง
- สัญญา ข้อกำหนด และการประมาณราคาค่าก่อสร้าง โดย ผศ. วิสูตร จิระดำเกิง
- การสำรวจปริมาณและการประมาณราคา (Quantity Survey and Cost Estimate) โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ราคาค่าก่อสร้างต่อหน่วยสำเร็จรูป โดย ALPHA TEAM [3]
- The Engineer’s Cost Handbook. Edited by Richard E. Westney.
- Construction Cost Analysis and Estimating by Phillip F. Ostwald.
- Project Management for Engineering and Construction by Garold D. Oberlender.
- Jelen’s Cost and Optimization Engineering by Kenneth K. Humphreys.