การพิมพ์รูปเล่มโครงงาน

การพิมพ์รูปเล่มโครงงาน

 

การจัดพิมพ์โครงงานวิชาชีพมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

4.1           การพิมพ์โครงงานทางวิชาชีพ

สามารถดูได้ในไฟล์  “ตัวอย่างการเขียนรูปเล่มโครงการ”

 

4.1.1   ตัวพิมพ์

ให้ใช้ตัวอักษรแบบ   Browallia new ขนาด 15 พอยต์ สำหรับเนื้อหา และขนาด 16 พอยต์สำหรับส่วนที่เป็นหัวข้อและพิมพ์ตัวหนา โดยจัดกั้นหน้าแบบชิดซ้าย และพยายามจัดคำท้ายบรรทัดให้เท่ากัน

 

4.1.2   กระดาษที่ใช้พิมพ์

ให้ใช้กระดาษขาวไม่มีเส้นบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A4 (210 X 297 มม.) หนัก 80 กรัม/ ตร.เมตร และใช้เพียงหน้าเดียว

 

4.1.3   การเว้นระยะบรรทัดในการพิมพ์ 

การพิมพ์ข้อความภายในย่อหน้าเดียวกันจะไม่เว้นบรรทัด แต่ในกรณีที่ขึ้นย่อหน้าใหม่หรือขึ้นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยให้เว้น 1 บรรทัด

 

4.1.4   การลำดับหน้า  

การพิมพ์เลขหน้าใช้ตัวอักษรขนาด 15 พอยต์ รูปแบบเดียวกับตัวพิมพ์ในข้อ 4.1.1 โดยพิมพ์ไว้มุมบนด้านขวาและห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1.8 เซนติเมตร

-       การลำดับเลขหน้าในส่วนนำ  เริ่มนับตั้งแต่หน้าอนุมัติโดยเรียงตามลำดับอักษรภาษาไทย ก-ฮ ยกเว้นหน้าอนุมัติไม่ต้องใส่เลขหน้ากำกับแต่ให้นับจำนวนหน้ารวมด้วย ส่วนบทคัดย่อให้เริ่มที่หน้า ข

-       การลำดับเลขหน้าในส่วนเนื้อความ  เริ่มนับตั้งแต่บทที่ 1 จนจบภาคผนวก โดยเรียงตามลำดับตัวเลขอารบิก 1 2 3 ยกเว้นหน้าแรกของแต่ละบท หน้าแรกของส่วนอ้างอิง และหน้าแรกของแต่ละภาคผนวก ไม่ต้องใส่เลขหน้ากำกับแต่ให้นับจำนวนหน้ารวมด้วย


4.1.5   การแบ่งบทและหัวข้อในบท

การแบ่งบทและหัวข้อในบทมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

  1. ชื่อเรื่องของโครงงานทางวิชาชีพ        

ถ้ามีความยาวเกิน 1 บรรทัด    ควรแบ่งข้อความให้เหมาะสมด้วยเหตุผล กระบวนความคิดและถูกต้องตามไวยากรณ์ ให้เขียนหรือพิมพ์เป็นรูปหน้าจั่วกลับ สำหรับชื่อเรื่องภาษาอังกฤษที่ปรากฏบนปกนอก ต้องเป็นอักษรตัวใหญ่ทั้งหมด

 

  1. บท

          ให้ขึ้นหน้าใหม่เมื่อเริ่มบทใหม่เสมอ โดยพิมพ์คำว่าบทที่และเลขประจำบทไว้ที่  ตอนบนของกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยใช้ตัวอักษรเข้ม (Bold) ขนาด 16 พอยต์ บรรทัดแรกของเนื้อเรื่องในบท ให้เว้น 1 บรรทัดต่ำกว่าชื่อบท

 

  1. หัวข้อในบท  แบ่งออกเป็น

1) หัวข้อใหญ่   หมายถึง หัวข้อซึ่งมิได้เป็นชื่อบท แต่มีความสำคัญ

-     ให้เว้นระยะ 1 บรรทัดก่อนหัวข้อใหญ่  และใช้ตัวอักษรหนา (Bold) ขนาด 15 พอยต์ โดยพิมพ์ไว้ริมขอบกระดาษด้านซ้าย พร้อมทั้งใส่เลขกำกับหัวข้อ

-      ในการขึ้นหัวข้อใหม่ ถ้ามีที่ว่างสำหรับพิมพ์ข้อความต่อไปได้ไม่เกิน 1 บรรทัด ให้ขึ้นหัวข้อใหม่ในหน้าถัดไป

-     ถ้าเป็นคำศัพท์เฉพาะ (คำภาษาอังกฤษ)  ให้พิมพ์คำนั้นๆ เป็นภาษาไทย  โดยมีภาษาอังกฤษกำกับในวงเล็บด้านหลัง   และพิมพ์อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) สำหรับกรณีคำศัพท์นั้นเป็นชื่อย่อ ให้พิมพ์อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ทั้งหมด เช่น ความเข้มข้นวิกฤตไมเซลล์ (Critical Micelle Concentration, CMC)

2) หัวข้อย่อย   ถ้ามี ต้องไม่น้อยกว่าสองหัวข้อ

-              การพิมพ์หัวข้อย่อยให้พิมพ์ชิดขอบซ้าย เว้นระยะ 1 บรรทัดก่อนขึ้นหัวข้อ และหัวข้อเป็นตัวอักษรตัวหนา ขนาด 15

 

 

 

  1. การลำดับเลขกำกับหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย 

          เลขกำกับหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยให้ใช้ระบบตัวเลขและจุดทศนิยม หัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยซึ่งมีเลขที่หัวข้อกำกับให้เว้น 4 ตัวอักษร ระหว่างเลขที่หัวข้อและอักษรตัวแรกของชื่อหัวข้อ  เช่น 1.1  วัตถุประสงค์

 

4.1.6   กราฟ / รูปประกอบและตาราง

-       กราฟ / รูปประกอบและตาราง ภาพถ่ายที่อ้างอิงมาจากที่อื่น อาจใช้ภาพสำเนาได้ กรณีที่เป็นกราฟหรือตารางควรใช้คอมพิวเตอร์เขียนขึ้นมา

-       การอ้างอิงที่มาของตารางหรือรูปประกอบ  ให้ใช้คำว่า “รูปที่ ...”  “ตารางที่ …” และมีคำอธิบายประกอบรูปอยู่ใต้รูป ส่วนคำอธิบายประกอบตารางให้อยู่เหนือตาราง

-       ให้เรียงตามบทที่รูปและตารางปรากฏอยู่ ถ้าอยู่ในภาคผนวก ให้เรียงตามลำดับของภาคผนวก

 

4.2           การจัดรูปเล่ม  ให้เรียงลำดับดังนี้

  1. หน้าปกหน้า
  2. แผ่นรองปกหน้า
  3. ปกใน
  4.  หน้าอนุมัติ
  5. บทคัดย่อ
  6. กิตติกรรมประกาศ
  7. สารบัญ
  8. สารบัญรูป (บัญชีรูปทั้งหมด รวมทั้งในภาคผนวก)
  9. สารบัญตาราง (บัญชีตารางทั้งหมด รวมทั้งในภาคผนวก)

10.  รายการสัญลักษณ์และคำย่อ

11.  บทที่ 1 ……………………..

              บทที่ 2 ……………………..

              บทที่ 3 ……………………..

              บทที่ 4 ……………………..

              บทที่ 5 ……………………..

12.  เอกสารอ้างอิง

13.  ภาคผนวก ก.  …………………..

              ภาคผนวก ข.  …………………..

              ภาคผนวก ค.  …………………..

14.  แผ่นรองปกหลัง

15.  ปกหลัง

 

 

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


sarojana

Status : ผู้ใช้ทั่วไป
การก่อสร้าง