มารักภาษาอังกฤษกันเถอะ

ที่มา:http://www.mfuzone.com/nboard/index.php?showtopic=17398
ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว
1. ดูภาพยนตร์หรือฟังเพลงภาษาอังกฤษ
ควรหาภาพยนตร์ที่เป็นภาษาอังกฤาและมีซับฯไทยประกอบมาชม และเมื่อตัวละครในเรื่องพูดอะไรให้พยายามจับศัพท์ให้ได้ว่า ไอ้คำที่มันพูดมามันสัมพันธ์กับซับฯยังไง หากจับทิศทางและฟังจนคล่องแล้ว ให้เปลี่ยนจากซับฯไทยเป็นซับฯอังกฤษแทน หากไม่เข้าใจคำศัพท์ตัวใด ให้จดไว้แล้วค่อยมาเปิด Dic หาเอา(อย่าเชื่อความหมายจาก Sub ไทยไปเสียหมดนะครับ เพราะบางทีคนแปลเองก็แปลผิดได้เหมือนกัน) หรือ ถ้าไม่ชอบดูหนัง แต่ชอบฟังเพลงก็ลองหาเนื้อเพลงภาษาอังกฤษมานั่งแปลดู ไม่ต้องแปลให้ถึงขนาดร้องออกมาเป็นทำนองไทยได้หรอกครับ แค่ให้เราทราบความหมายของเพลงก็พอ

2. คิดเป็นภาษาอังกฤษ
การพูด การเขียน จะต้องผ่านการคิดเสียก่อนจึงจะกระทำสิ่งๆนั้นตามที่สมองของเราสั่ง ควรฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพูด, ฟัง, อ่านและเขียน เช่น สมมุติว่าเราจะไปทานข้าวเย็นกับเพื่อนใหม่ที่ D1 ต้องคิดเลยว่า 'Today, I'd like to dinner with my new friend at cafeteria.' แบบนี้นะครับ

3. ช่างสังเกตุและจดจำ
เวลาเราเดินทางหรือผ่านไปยังสถานที่ใดๆก็ตาม แล้วเกิดไปพบเห็นคำศัพท์ที่เราไม่รู้ ควรที่จะจำหรือจดไว้แล้วค่อยมาหาความหมายจาก Dic นะครับ

4. การสนทนาให้ได้รสชาติ
ไม่ใช่เรื่องดีนักที่จะทำให้ 'แกรมม่า' มาเป็นปัญหาสำหรับคุณในการสนทนากับเพื่อนๆ ในการสนทนาพูดคุยนั้น แกรมม่าไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องใช้เลย เช่นเดียวกับการพูดภาษาไทย พวกเราเองยังไม่เน้นแกรมม่า(หลักภาษา)กันเลยหากเราพูดภาษาไทยโดยใช้แกรมม่า ก็จะเป็นออกมาในรูปแบบนี้ครับ 'วันนี้กระผมมีความประสงค์จะไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ท่านผู้ใดมีความประสงค์จะไปกับกระผมไหมครับ' กับ การที่เราไม่ใช้แกรมม่าในการพูด ผลออกมาก็จะเป็น 'Ku จะไปซื้อของบิ๊กซี ใครจะไปกะ Ku มั่ง' ลองคิดดูเล่นๆนะครับ ถ้าเรามัวไปเน้นแกรมม่าในการสนทนาภาษาอังกฤษ กว่าเราจะประมวลผลออกมาได้ กว่าจะเรียบเรียงเป็นคำพูดได้ เพื่อนเราเค้าก็เปลี่ยนเรื่องคุยไปหลายเรื่องแล้วล่ะครับ และการสนทนาเราควรจะใช้คำพูดที่กระชับและได้ใจความนะครับ เช่น อาจารย์ถามเราว่า ''What time do you go to study in (ชื่อวิชา) ?' (สังเกตว่าอาจารย์ยังถามแบบไม่ใช้แกรมม่าเลย) เราควรตอบว่า 'At (เวลาที่เราจะเข้าเรียน).' ก็พอแล้วครับ ไม่ต้องมาสาธยายยืดยาว แต่เนื้อหามีนิดเดียว เช่น 'I'm going to studying in that subject on 10 o'clock.' แบบนี้กว่าจะร่ายจบอาจารย์ก็เหน็บกินแล้วครับ ฉะนั้นจะไว้เลยว่า การสนทนาไม่เน้นแกรมม่านะครับ เก็บแกรมม่าของคุณไปใช้ในการกล่าวสุนทรพจน์ การเขียนเชิงวิชาการหรือเขียนอะไรที่เป็นทางการจะดีกว่านะครับ (พี่มาโรงการ Work and Travel ที่สหรัฐอเมริกา เรื่องกริยา 3 ช่อง คนอเมริกันเองยังใช้กันผิดเลยครับน้อง พี่ยังเคยเห็นเค้าทักเพื่อนร่วมงานเค้าที่เข้างานตอนบ่าย ว่า Good Morning ก็ยังมีเลย(ไม่ใช่ประชดนะครับ เพราะไม่เคยเข้างานสายกันเลย คนอเมริกันถือเรื่องตรงต่อเวลามาก) และไม่ใช่ครั้งเดียวด้วย บ่อยมากๆ)

5. การจำคำศัพท์แบบติดตราตรึงใจ
ในการเรียนภายในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงของเรานั้น หนีไม่พ้นการอ่าน Text Book หรือสไลด์ประกอบการสอนซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งในการอ่านนะครับ มันจะมีคำศัพท์ตัวหนึ่งซึ่งจะมาปรากฎอยู่บ่อยครั้ง เคยรู้สึกไหมครับว่า 'ทำไมศัพท์ตัวนี้ มันผ่านหูผ่านตาแต่เราจำมันไม่ได้สักที' ความรู้สึกดังกล่าวมักจะทำให้เราต้องไปคว้า Dic มาเปิด ทำให้เกิดอาการท้อหรือเบื่อการอ่านเอาดื้อๆ ทางออกมีดังนี้ครับ ถ้าเราเริ่มรู้สึกแบบนั้น ให้เราขีดเส้นใต้หรือใช้ปากกา Marker เน้นไปที่คำๆนั้นเลย และเขียนคำแปลเอาไว้ แต่ยังไม่พอนะครับ เพื่อประสิทธิภาพในการจำศัพท์ให้ติดตราตรึงใจไปนานเท่านาน เวลาที่เรากระทำกิจกรรมอย่างอื่น ไม่ว่าจะทำอาหาร ดินเนอร์กับแฟน ดูหนังกับกิ๊ก ฯลฯ ถ้าเกิดเรานึกถึงคำศัพท์นั้นขึ้นมาให้รีบท่องในใจได้เลย เช่น อ่านชีทวิชา Man and Society แต่จำคำความหมายของ Maintenance ไม่ได้ซักที ก็เดินไปส้วมเพื่อปลดทุกข์ ขณะที่กำลังปลดทุกข์นั้น ดันไปนึกถึงไอ้ Maintenance ได้ขึ้นมา ก็เอาเลยครับ 'อ้อ! Maintenance แปลว่า รักษาให้คงเดิม' อาจใช้เวลานานสักหน่อยกว่าจะจำได้ แต่พี่คิดว่า เราจะจำติดหัวเราไปตลอดเลยล่ะครับ อีกอย่างวิธีการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการท่องจำเนื้อหาการเรียนได้นะครับ (พี่เองก็ใช้วิธีนี้ในการจำคำว่า Maintenance ในวิชา Politic and Government ตั้ง 2 อาทตย์กว่าจะจำได้)

6. ใช้ทักษะ Skim and Scan
การใช้ทักษะ Skim and Scan นั้นคือการอ่าน Text Book แบบตะลุยอ่านโดยไม่ต้องใช้ Dic ในการค้นหาความหมายของคำศัพท์ แต่จะอาศัยความหมายของคำศัพท์ข้างเคียงในการช่วยเดาความ เช่น If you experience problem with the survey please call 1-800-382-4748. (เอามาจากใบเสร็จร้าน Dollar General) ให้เราดูแค่คำว่า problem กับ survey ก็พอครับ ซึ่งข้อความนี้มีความหมายว่า หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับแบบสอบถาม ให้ติดต่อที่หมายเลข 1-800-382-4748 ครับ


ทั้ง 6 วิธีนี้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของน้องๆเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนภายในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและชีวิตประจำวันต่อไปครับ และสุดท้ายจงจำเอาไว้อย่างหนึ่งว่า 'ประเทศไทย ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของบ้านเขาเมืองใคร พวกเรามีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง และเมื่อใดที่สิ้นภาษาก็สิ้นชาติ' น้องๆมาเรียนมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ค่อนข้างจะอินเตอร์ฯ ดังนั้นควรนำวัฒนธรรมอินเตอร์ฯมาผสานเข้ากับวัฒนธรรมไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดนะครับ


ที

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


kru-toi

Status : ผู้ใช้ทั่วไป
ไม่ระบุ