เนื้อหารายวิชา

เอกสารประกอบการสอนระบบเทียบโอนประสบการณ์ความรู้

 

วิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1  รหัสวิชา 2000-1101

 

อาจารย์ผู้สอนประจำวิชา  ครูณัฏฐ์ดนุช    คันธรักษ์  และ ครูสุรีย์พร   บุญน้ำชู

.............................................................................................................................................................

ความรู้เรื่องคำ

 

                ภาษาไทยจัดเป็นภาษาคำโดดคือ คำแต่ละคำมีอิสระไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ กาลฯ แต่ต้องอาศัยคำอื่นมาประกอบเพื่อบอกลักษณะนั้น ๆ แทนการเปลี่ยนรูปคำ ถ้อยคำที่ใช้ในภาษาไทยอาจแบ่งได้ 2 พวก คือ คำไทยแท้ และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ซึ่งคำไทยแท้มีลักษณะดังนี้

                1. ส่วนมากจะเป็นคำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ไป มา ทอง มือ ฯลฯ

                2. การสร้างคำเพื่อให้มีความหมายต่างออกไป มักใช้คำพยางค์เดียวมาประสมกันเป็นคำใหม่ เกิดเป็นความหมายใหม่เรียกว่าคำประสม เช่น เครื่องบิน ไฟฟ้า ตู้เย็น พัดลม ทองแดง มือกาว แม่แรง ลูกมือ

                3. เมื่อนำคำไปใช้ในประโยค จะถือการเรียงลำดับคำบอกหน้าที่ของคำนั้น ๆ เช่น วางบทประธานไว้หน้าบทกริยา วางบทกรรมอยู่หลังบทกริยา บทขยายก็จะวางไว้หลังคำหลักที่ต้องขยาย เช่น

                แมวลายกินปลาแห้ง

                                - แมวลาย               คือบทประธาน     แมวเป็นประธาน ลาย ขยายประธาน

                                - กิน                       คือบทกริยา

                                - ปลาแห้ง             คือบทกรรม           ปลาเป็นกรรม แห้ง ขยายกรรม

                4.  คำ ๆ เดียวอาจมีได้หลายความหมาย แต่ละหน้าที่ ต้องดูที่การเรียงลำดับคำในประโยค เช่น

                                เธอพูดกับฉัน                       พระฉันจังหัน

                5.  มีลักษณนามใช้ และคำลักษณนามจะวางหลังคำบอกจำนวนนับ เช่น พระพุทธรูป  3 องค์ พระสงฆ์ 9 รูป ยา 2 ขนาน  บ้าน 2 หลัง โต๊ะ 3 ตัว ไข่ 1 ฟอง ฯลฯ

                6. ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงความเกี่ยวข้องกับคำอื่น เช่น ม้าวิ่ง ม้าหลายตัววิ่ง

                7.  คำไทยมีรูปวรรณยุกต์เป็นเครื่องหมายกำกับเสียง คำที่ประสมตัวเหมือนกัน แต่ใช้วรรณยุกต์กำกับต่างกัน ความหมายก็ต่างกันออกไป เช่น ขา ข่า ข้า กัน กั่น กั้น

 

 

                8.  คำไทยส่วนมากจะใช้ตัวสะกดตรงตรามาตรา เช่น

                                - แม่กน  จะใช้      น             สะกด     เช่น  แกน  สั้น คัน คน

                                - แม่กด   จะใช้      ด             สะกด     เช่น มด จด มัด เด็ด

                                - แม่กบ  จะใช้      บ             สะกด     เช่น จบ แบบ เอิบ

                9.  คำไทยส่วนใหญ่ไม่มีตัวควบกล้ำ คำควบกล้ำส่วนใหญ่จะมาจากภาษาอื่น

                10. คำไทยไม่มีตัวควบกล้ำ คำที่มีตัวการันต์จะมาจากภาษาอื่น

 

ความรู้เรื่องคำ

                1. คำมูล คือ (คำที่มีมาแต่เดิมในภาษาไทย (อาจจะเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่ตั้งขึ้นใหม่ในภาษาไทยก็ได้)

                2. คำมูลพยางค์เดียว คือ (คำที่เปล่งออกมาพยางค์เดียวโดด ๆ และได้ความหมายชัดเจนในตัวเอง ซึ่งอาจเป็นคำไทยแท้ หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้)

                3. คำมูลหลายพยางค์ คือ (คำที่เปล่งเสียงหลายพยางค์ แต่ถ้าแยกแต่ละพยางค์ออกจากกันจะไม่มีความหมายหรือถ้ามีความหมายหรือถ้ามีความหมายก็ไม่ใกล้เคียงกับคำที่รวมพยางค์อยู่)

                4. คำประสม คือ (คำที่เกิดจากการนำคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมารวมกันให้เป็นคำคำเดิมที่เป็นคำใหม่ อาจมีความหมายใหม่ หรือยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่ คำประสมแต่เดิมเกิดจากการประสมคำไทยแท้ ๆ แต่ต่อมาอาจมีคำจากภาษาอื่นปนอยู่บ้างก็ได้)

                5. คำซ้ำ คือ (คำมูลที่มีรูป เสียง และความหมายเหมือนกัน นำมากล่าวซ้ำ ๆ กันเป็นคำเดียว โดยการใช้ไม้ยมกแทน)

                6. คำซ้อน คือ (คำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน นำมาเรียงต่อกัน หรือซ้อนกันแล้วเกิดความหมายใหม่ หรือมีความหมายที่ใกล้เคียงกับความหมายเดิม มี 2 ประเภท ซ้อนเสียง ซ้อนความหมาย)

                7. คำสมาส คือ (การที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลี สันสกฤต ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเรียงต่อกัน ทำให้เกิดคำใหม่แต่ยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่)

                8. คำสนธิ คือ (คำสมาสชนิดหึ่งนั่นเอง เพราะเกิดจากคำมูลซึ่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเชื่อมให้ติดต่อกันเป็นคำเดียว โดยให้เสียงสระของพยางค์ท้ายของคำหน้าและเสียงสระในพยางค์หน้าของคำหลังมีความหมายกลมกลืนกันเป็นสระเสียงใดเสียงหนึ่งของทั้ง 2 คำนั้นหรืออาจจะเป็นสระเสียงอื่นไปก็ได้)

                9. ตัวอย่างคำมูล (ศักดา รังสรรค์ จัตวา ประมาณ ประภัสสร กุมภัณฑ์ สารภี โยธา อาสัญ พรหม วิลาวัณย์ สุริยัน วานร กังสดาล กำหนด)

                10. ตัวอย่างคำประสม คือ (ยืดยาว คั่งแค้น พ่ายแพ้ สูญเสีย ลูกชาย สินใจ ทัดทาน จำใจ ห้ามปราม ครอบครอง กรีดกราย หน้าที่ สุดท้าย ยืดยาว ไต่สวน)

                11. คำมูลสี่พยางค์ (อิโหน่อิเหน่)

                12. คำว่า เล่น ที่เป็นคำประสม (ผมไม่ชอบเล่นพวก)

                13. คำประสมที่เป็นคำไทยแท้ (ช่างไม้ ของว่าง)

                14. คำซ้อนที่มีความหมายเหมือนกันและมีภาษาถิ่นประสมด้วย (เสื่อสาด มีดพร้า)

                15. คำซ้อนเพื่อความหมาย (หน้าตา เงียบสงัด แบบแปลน)

                16. ตัวอย่างคำสนธิ (นิโลบล ปรเมนทร์ สุริโยทัย ปิโยรส ราชูปโภค มเหสี หตถาจารย์)

 

ความรู้เรื่องคำมูล คำประสม

                คำมูล คือ คำที่ใช้ในภาษาแต่เดิม อาจจะเป็นคำไทยแท้หรือคำมาจากภาษาอื่นก็ได้ และเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ มีหลักสังเกตได้คือ

                1. เป็นคำพยางค์เดียวโดด ๆ ซึ่งได้ความในตัวเอง เช่น พ่อ แม่  กิน น้ำ ลม ไฟ แมว หมู นก หนา ฯลฯ

                2. เป็นคำหลายพยางค์แต่ถ้าแยกพยางค์เหล่านั้นออกแล้ว จะไม่มีความหมายในภาษาหรือถ้ามีความหมายก็ไม่ใกล้เคียงกับคำที่รวมพยางค์อยู่ เช่น กระดาษ กระถาง สมุด หนังสือ กะละมัง สังกะสี ศิลปะ ฯลฯ

                คำที่สร้างขึ้นจากคำมูล คือการนำคำมูลหลาย ๆ คำประสมกัน ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

                1. คำประสม         2.คำซ้อน        3.คำคู่            4.คำซ้ำ                   5.คำสมาส             6.คำสนธิ

คำประสมคือ กลุ่มคำที่เกิดจากคำมูลหลาย ๆ คำประสมกัน แล้วเกิดความหมายใหม่ แต่ยังมีเค้าความหมายของคำเดิม หรือมีความหมายคงเดิม แต่เน้นความหมายให้กระชับขึ้น

                ลักษณะคำประสม มีหลักสังเกตดังนี้

                1. คำประสมที่เกิดจากคำมูลที่มีรูป เสียง และความหมายต่างกัน แต่เมื่อประสมกันแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่ แต่ไม่ทิ้งเค้าความหมายเดิมเช่น พ่อตา แม่ยาย ลูกเลี้ยง ปากกา แม่ทัพ ลูกน้ำ หางเสือ ฯลฯ

                2. คำประสมที่เกิดจากคำมูลซึ่งมีรูป เสียง และความหมายต่างกัน เมื่อประสมกันแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่ แต่ยังคงรักษาความหมายเดิมของแต่ละคำ คำประสมชนิดนี้มีลักษณะคล้ายสำนวน เช่น ดีใจ เสียใจ ยินดี กินใจ ร้อนใจ ใจหาย ตีชิง วิ่งราว ฯลฯ

                3. คำประสมซึ่งเกิดจากคำมูลที่มีรูป เสียง และความหมายเหมือนกัน เมื่อประสมกันแล้วทำให้เกิดความหมายผิดไปจากคำเดิมเล็กน้อย แต่ก็ยังคงรักษาความหมายของคำเดิมแต่ละคำไว้ เช่น สูงๆต่ำ ๆ ดำๆ ขาวๆ ด่าง ๆ เขียว ๆ เร็ว ๆ ไว ๆ ดอก ๆ ดวง ๆ ฯลฯ

                4. คำประสมที่เกิดจากคำมูลที่มีรูปและเสียงต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน เมื่อประสมกันแล้วความหมายคงเดิม คำประสมชนิดนี้มักจะเป็นคำภาษาถิ่นประสมกับคำภาษากลางในความหมายเดียวกัน เช่น พูดจา ป่าดง เสื่อสาด มีดพร้า ถ้อยคำ บาดแผล หวั่นไหว แค้นเคือง อ้อนวอน ดูแล วิ่งเต้น ฯลฯ

                5. คำประสมที่เกิดจากคำมูลซึ่งมีรูป เสียง และความหมายต่างกัน เมื่อรวมกันเข้ามีลักษณะเป็นการย่อคำหลาย ๆ คำ ส่วนใหญ่มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า นัก ช่าง ชาว หมอ การ ความ ผู้ ของ เช่น นักเรียน นักร้อง ช่างไฟฟ้า ช่างเหล็กชาวนา ชาวสวน การเมือง การคลัง ผู้ดี ผู้ร้าย ของกิน ของใช้ ความดี

 

ความรู้เรื่อง  คำซ้อน คำคู่ คำซ้ำ

                คำซ้อน

                คำซ้อนคือคำที่เกิดจากการนำคำมูลที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเรียงซ้อนกันเพื่อให้เกิดความหมายใหม่ชัดเจนขึ้น ความหมายของคำใหม่นี้อาจจะอยู่คำใดคำหนึ่งในกลุ่มนั้นหรือมีความหมายตรงอย่างคำประสม

                ที่มาของคำซ้อน คำซ้อนอาจจะเป็นคำไทยกับคำไทย คำไทยกับภาษาอื่น หรือภาษาอื่นกับภาษาอื่น

1. คำไทยกับคำไทย เช่น คิดอ่าน ทุบตี แข้งขา ดื้อรั้น เจ็บปวด สดชื่น ยุ่งยาก กว้างขวาง ซื่อตรง เข้มแข็ง ชั่วช้า เติบโต ดุร้าย ดินฟ้า หน้าตา บ้านเรือน ล่มจม

                2. คำไทยกับเขมร เช่น เขียวขจี พงไพร ร้ายกาจ เชี่ยวชาญ โง่เขลา แสวงหา ละเอียดลออ

                3. คำไทยกับคำบาลีสันสกฤต เช่น โชคลาง ขอบเขต  ทรัพย์สิน จิตใจ พรรคพวก รูปร่าง ทุกข์ยาก

                4. คำเขมรกับคำเขมร เช่น สงบเสงี่ยม เฉลิมฉลอง เลิศเลอ เกริกไกร เฉลียวฉลาด

                5. คำเขมรกับคำบาลีสันสกฤต เช่น ตรัสประภาษ สรงสนาน เสบียงอาหาร สงบสุข รูปทรง

                6. คำบาลีสันสกฤตกับคำบาลีสันสกฤต เช่น รูปภาพ กิจการ รูปลักษณ์  รูปพรรณ ทรัพย์สมบัติ

 

ความหมายของคำซ้อน

1. ความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ส่วนคำอื่นไม่มีความหมาย

                ก. ความหมายอยู่ที่คำต้น เช่น ปากคอ ข้าวปลา ใจคอ แก้มคาง หัวหู ขวัญหนีดีฝ่อ มือไวใจเร็ว

                ข. ความหมายอยู่ที่ท้ายคำ เช่น ปกปิด เท็จจริง ได้เสีย หูตา เนื้อตัว นำใสใจจริง เอร็ดอร่อย

2. ความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่ง คำอื่นที่ไม่ปรากฏความหมายแต่ช่วยเน้นคำที่มีความหมาย เช่น เดียวดาย ดื้อดึง ว่องไว แปดเปื้อน

3. ความหมายอยู่ที่คำแต่ละคำ  แต่เป็นความหมายที่กว้างออกไป เช่น เสื้อผ้า ความหมายไม่ได้อยู่ที่เสื้อผ้าแต่รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม ขนมนมเนยหมายถึงอาหารประเภทของหวานอะไรก็ได้

4.  ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้าย เช่น เคราะห์หามยามร้าย ชอบมาพากล ฤกษ์งามยามดี ยากดีมีจน ผลหมากรากไม้ ข้าวยากหมากแพง อดตาหลับขับตานอน ติดสอยห้อยตาม

5. มีความหมายทั้ง 2 คำรวมกัน เช่น บุญญาบารมี อำนาจวาสนา เอวบางร่างน้อย ดินฟ้าอากาศ

6. ความหมายเป็นไปในเชิงอุปมา คือเกิดความหมายใหม่แต่ยังมีเค้าของความหมายเดิม เช่น นุ่มนวล อ่อนหวาน อ่อนน้อม ดูดดื่ม อยู่กิน เสียดแทง ค้ำจุน อุ้มชูเบิกบาน

คำคู่   คำคู่ คือการนำคำมูล 2 คำที่มีเสียงใกล้เคียงกันหรือไปในทำนองเดียวกัน มาซ้อนกันเพื่อเข้าคู่กันทำให้เกิดความหมายใหม่ โดยคำนึงถึงเสียงเป็นสำคัญ คำที่นำมารวมกันนี้จะต้องเป็นพยัญชนะต้นตัวเดียวกัน ส่วนสระหรือตัวสะกดอาจจะแตกต่างกันได้ ความหมายของคำคู่ไม่จำเป็นต้องมีความหมายทั้งหมดอย่างคำประสมหรือคำซ้อน คำคู่อาจจะมีความหมายเพียงคำเดียว หรืออาจจะไม่มีความหมายทั้ง 2 คำก็ได้ แต่เมื่อรวมเป็นคู่แล้ว จะต้องเป็นคำที่มีความหมายในภาษา เช่น เอะอะ สรวลเส เลิกลั่ก ตุปัดตุป่อง อิโหน่อิเหน่ ขลุกขลิก อู้อี้ หลุกหลิก โมเม โซเซ โยเย ล้งเล้ง

 

การสังเกตลักษณะของคำไทยแท้กับคำที่มาจากภาษาอื่น

 

  1. การกร่อนเสียงของคำในภาษาไทย (การพูดคำสองพยางค์เร็ว ๆ ภายหลังพยางค์แรกกร่อนลง)
  2. คำที่เกิดจากการเติมพยางค์หน้าคำมูล (ประท้วง ประเดี๋ยว กระจุ๋มกระจิ๋ม)
  3. คำที่เกิดจากการแทรกเสียง (ผักกระสัง ผักกระเฉด ลูกกระสุน)
  4. คำที่เกิดจากการกร่อนเสียง (สะดือ ตะปู สะใภ้)
  5. หลักการอ่านคำที่มาจากบาลี สันสกฤต พยัญชนะตัวใดที่ไม่ออกเสียง (ตัวสะกด)
  6. ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาบาลี (บุปผา สิริ  เวฬุวัน)
  7. ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาสันสกฤต (ศิลปะ กรีฑา ประเทศ)
  8. ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาเขมร (เสด็จ ตำบล สลา กระบือ บรรจุ เสวย สกาว กำจาย และส่วนใหญ่เป็นคำ ราชาศัพท์)
  9. ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาชวา (บุหรง ยิหวา บุหงา)
  10. ตัวอย่างที่มาจากภาษาจีน (กงสี ก๋ง แซยิด ก๊วน)

 

 

 

 

 

 

 

 

คำราชาศัพท์ที่จำเป็นต้องทราบ

 

  1. คำราชาศัพท์ตามความหมายในปัจจุบัน (ถ้อยคำสุภาพเหมาะสมแก่กาลเทศะและฐานะของบุคคล)
  2. ประโยชน์ของคำราชาศัพท์ (เป็นการศึกษาวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ)
  3. “พระสงฆ์ ถวายอดิเรก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (สวดมนต์อวยพรพระเจ้าแผ่นดิน)
  4. ถ้าจะมีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องส่งผ่านหน่วยงานใด (สำนักพระราชวัง)
  5. ถ้าพบว่าช้าง ตาย ควรจะใช้คำว่า, (ช้างล้ม)
  6. ข้อใดใช้คำว่า “หลวง” ประกอบเป็นคำราชศัพท์ ได้ถูกต้อง, (ม้าหลวง หลานหลวง แต่ คำ ของหลวง ไม่ใช่คำราชาศัพท์)
  7. ตัวอย่างคำกริยาราชาศัพท์ (ประทาน พระราชทาน)
  8. จดหมายของพระสงฆ์ใช้คำราชาศัพท์ว่า (ลิขิต)
  9. “ตัดผม” ถ้าเป็นคำราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน (ทรงเครื่องใหญ่)
  10. “ประชวรพระยอด” ตรงกับคำสามัญ (เป็นฝี)
  11. “สมเด็จพระสังฆราช ให้พร ประชาชนชาวไทยในโอกาสวันขึ้นปีใหม่” ควรใช้คำราชาศัพท์ว่า, (ประทานพร)
  12. สมเด็จพระบรมราชินีนาถ คำว่า นาถ ใช้กับ (สมเด็จพระบรมราชินีที่เคยกระทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์)
  13. “การต้อนรับ” ในหลวงและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใช้คำว่า (รับเสด็จ)
  14. พระบรมฉายาลักษณ์, (รูปถ่ายหรือภาพถ่ายในหลวง)
  15. พระบรมสาทิสลักษณ์, (รูปถ่ายหรือรูปเหมือน)
  16. พระอาจารย์หลาย เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ป่วย ควรใช้คำว่า (อาพาธ)
  17. สมเด็จพระสังฆราช ตาย ควรใช้คำใดที่จะถูกต้อง, (สิ้นชีพิตักษัย)
  18. “พระองค์เจาโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ชม การแสดงนาฏศิลป์ของเยาวชน ควรใช้คำว่า, (ทอดพระเนตร)
  19. เผาศพ ใช้คำราชาศัพท์ว่า, (พระราชทานเพลิงศพ)
  20. “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปทำบุญ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ควรใช้คำราชาศัพท์ว่า, (เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศล)

 

“รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา                                                เบื้องหน้าเติบใหญ่จะให้คุณ

(มีวิชา มีคุณค่าคณานับ)

“ทำบุญบุญแต่งให้                              เห็นผล

                คือดั่งเงาตามตน                                                   ติดแท้    

(ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว)

                                “อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า                          มาถนอม

                สูงสุดมือมักตรอม                                                อกไข้     

(อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์)

คำและพยางค์

พยางค์   คือ เสียงที่พูดออกมาครั้งหนึ่ง ๆ จะมีความหมายรู้เรื่องหรือไม่ก็ได้ เช่น ยาย, อะ, มี, ทุ ฯลฯ

คำ         คือ  พยางค์หรือเสียงที่พูดออกมาแล้วมีความหมายเข้าใจกันได้ซึ่งอาจจะมีพยางค์เดียวหรือ

                      หลายพยางค์ก็ได้ เช่น ตลาด, กาแฟ, นโยบาย ฯลฯ

 

คำกริยา

คำกริยา คือ คำที่แสดงการกระทำของนาม หรือสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

  1. อกรรมกริยา  คือ  กริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ ไม่ต้องมีกรรมมาช่วย เช่น นกร้องเสียงดัง, แมวเดินเร็ว ฯลฯ
  2. สกรรมกริยา คือ กริยาที่มีความหมายไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ต้องมีกรรมมาช่วย เช่น เด็กดื่มนม, พ่อตัดต้นไม้ ฯลฯ
  3. วิกตรรถกริยา คือ กริยาที่ต้องอาศัยคำนามหรือคำสรพนามมาช่วยขยายจึงจะได้ความสมบูรณ์ กริยาพวกนี้ได้แก่คำว่า เป็น, เหมือน, คล้าย, เท่า
  4. กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ใช้ขยายหรือช่วยกริยาสำคัญในประโยคให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มักอยู่หน้ากริยาสำคัญ เช่นคำว่า คง, เคย, จะ, กำลัง, ให้ ฯลฯ

 

 

 

 

คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำ  คือ   คำที่มีพยัญชนะต้นควบกับตัว ร ล ว เวลาอ่านต้องออกเสียงให้ชัดเจน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  1. คำควบแท้      คือ คำที่พยัญชนะตัวหน้าควบกล้ำกับตัว ร ล ว และออกเสียงพยัญชนะ ทั้ง 2 กล้ำกัน เช่น เพลง, ครอง, กราบ ฯลฯ
  2. คำควบไม่แท้ คือ คำที่มีพยัญชนะตัวหน้าควบกับตัว ร แต่ออกเสียงตัวหน้าเพียงตัวเดียว

วลี และประโยค

ประโยค  คือ  ถ้อยคำที่มีเนื้อความครบบริบูรณ์ ในแต่ละประโยคจะมีส่วนที่สำคัญ 2 ภาค คือ

                         ภาคประธาน และภาคแสดง

วลี    คือ  เป็นคำที่เรียงกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประโยค แต่ยังมีความหมายไม่สมบูรณ์

               เรียกอีกอย่างว่า กลุ่มคำ

 

                                                                                ขอให้โชคดีทุก ๆ คน ด้วยความปรารถนาดี