แบตเตอรี่

แบตเตอรี่(Battery)

1.หน้าที่ของแบตเตอรี่
2.โครงสร้างของแบตเตอรี่
3.การประจุไฟแบตเตอรี่

1.การประจุทีละน้อย  (Trickle  Recharge) 
 
        ถ้ากระแสในวงจรถูกรักษาไว้ที่อัตราเท่ากับ  C/10  (10%  ของความจุ)  แล้ว  เซลที่หมดประจุอย่างสมบูรณ์สามารถจะประจุได้ภายใน  10  ชั่วโมง  แต่ความเป็นจริงจะใช้เวลามากกว่า  10  ชั่วโมง  การประจุทีละน้อยด้วยอัตราขนาดนี้สามารถประจุทิ้งไว้ค้างคืนได้  ประโยชน์อีกข้อหนึ่งของการประจุเซลด้วยอัตราขนาดนี้คือ  ถึงแม้ว่าเซลจะถูกประจุเต็มแล้วก็ตาม  ก็ไม่จำเป็นต้องนำเซลออก  เนื่องจากถ้าเราประจุต่อไปก็จะไม่ทำความเสียหายให้แก่เซล  เนื่องจากก๊าซออกซิเจนที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่ขั้วบวกจะรวมตัวกับขั้วลบ  การประจุเซลโดยไม่มีข้อจำกัด  ซึ่งจะไม่ทำให้ความเสียหายแก่เซล  ยกตัวอย่างเช่น  เซลมีขนาดความจุ  500  มิลลิแอมป์ – ชั่วโมง  ถ้าประจุด้วยอัตรา  C/10   ก็เท่ากับ  10%  ของความจุ  คือ  50  มิลลิ-แอมป์    

 

 

4.การตรวจวัดความถ่วงจำเพาะของน้ำยา 
5.การบำรุงรักษาแบตเตอรี่

หมั่นตรวจดูระดับน้ำกลั่น อย่าให้ต่ำกว่าระดับ LOWER LEVEL เพราะอายุการใช้งานจะสั้น (ห้ามเติมน้ำกรดโดยเด็ดขาด)
ขันขั้วแบตเตอรี่ให้แน่น เพื่อกระแสไฟเดินได้ดี สะดวก
ทำความสะอาดที่ติดตามขั้วแบตเตอรี่และพื้นผิว อันเกิดจากการใช้งาน
ตรวจสภาพภายนอก ให้ยึดแน่นบนแท่นวาง
หมั่นตรวจดูระดับน้ำกลั่น อย่าให้ต่ำกว่าระดับ LOWER LEVEL เพราะอายุการใช้งานจะสั้น (ห้ามเติมน้ำกรดโดยเด็ดขาด)
ขันขั้วแบตเตอรี่ให้แน่น เพื่อกระแสไฟเดินได้ดี สะดวก
ทำความสะอาดที่ติดตามขั้วแบตเตอรี่และพื้นผิว อันเกิดจากการใช้งาน
ตรวจสภาพภายนอก ให้ยึดแน่นบนแท่นวาง

 


2.การประจุอย่างเร็ว  (Fast  Recharge)
 
        เซลแบบนิแคดนี้สามารถจุประจุด้วยอัตราที่สูงขึ้นกว่าได้  เช่นด้วยอัตรา  C/3  (33%  ของความจุ)  ถึง  C/5  (20%  ของความจุ)  โดยจะต้องเตรียมการตัดการประจุ  เมื่อเซลได้รับการประจุจนเต็มที่แล้ว  ซึ่งสามารถทำได้อย่างอัตโนมัติ  โดยใช้วงจรตรวจจับแรงดัน  ซึ่งจะตัดกระแสที่ใช้ในการประจุออก  เมื่อแรงดันของเซลเพิ่มขึ้นเกินกว่าค่าปัจจุบัน  รูปที่  10  แสดงถึงการแปรเปลี่ยนของแรงดันของเซลกับอัตราการประจุเท่ากับ  C/4  (25%  ของความจุ)  จะเห็นได้ชัดว่าวิธีการนี้สามารถใช้ได้เฉพาะ  ถ้าสามารถวัดค่าแรงดันได้อย่างเที่ยงตรงและว่องไว  สามารถตัดกระแสที่ใช้ประจุออกก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น  ปัญหาในการใช้การประจุแบบนี้ก็คือ  ถ้ากระแสที่ใช้ในการประจุค่าสูงๆ  นี้ไม่ได้ถูกตัดออกอย่างทันที  เมื่อเซลได้รับการประจุจนเต็มที่แล้ว  ก๊าซออกซิเจนที่เกิดขึ้นมากเกินจากขั้วลบในปริมาณที่เพียงพอ  ความดันจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  และเซลจะระบายก๊าซออกซิเจนออกไปโดยที่  รูระบายที่ปิดไว้จะเปิดออกและปล่อยก๊าซออกซิเจนกับอิเลคทรอไลท์บางส่วนออกมา  เนื่องจากเมื่ออิเลคทรอไลท์สูญเสียออกมาจากเซลแล้ว  ก็ไม่สามารถเติมกลับเข้าไปใหม่ได้  ดังนั้น  ความจุของเซลจะลดลงอย่างถาวรก็คือ  เซลนั้นจะมีความจุน้อยลงตลอดไป


3.การประจุอย่างเร่งด่วน  (Super – Fast  Recharging)   
 
       มีบางกรณีที่ผู้ใช้ต้องการที่จะประจุเซลภายในเวลาเพียง  2 – 3  นาที  ยกตัวอย่างเช่น  เครื่องบินเล็กที่ใช้แบตเตอรี่เป็นตัวจ่ายกำลังจะต้องการการประจุเซลที่หมดประจุ  เพื่อที่จะนำเครื่องบินนี้  บินขึ้นสู่อากาศอีกครั้ง  โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
 มันเป็นไปได้ที่จะประจุเซลอย่างเร่งด่วน  ด้วยอัตราการประจุถึง  4C  (4  เท่าของความจุ)  หรือมากกว่านี้  โดยวิธีการต่อไปนี้  คือวัดแรงดันของเซลและตัดกระแสที่ใช้ประจุออก  เมื่อแรงดันของเซลขึ้นสูงถึงค่าที่ตั้งไว้  อย่างไรก็ตามมีวิธีการที่ง่ายกว่า  แล้วก็เที่ยงตรงด้วย  โดยจากหลักความจริงที่ว่าเซลได้หมดประจุอย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะพยายามทำการประจุมันใหม่  ให้ประจุไฟเข้าโดยกำหนดค่ากระแสประจุคงที่ไว้ใช้เวลาในการประจุตามที่ต้องการ  เช่นหลังจากเซลหมดประจุแล้ว  กระแสที่ใช้ในการประจุขนาด  3C  (3  เท่าของความจุ)  จะถูกป้อนเป็นเวลา  20  นาที  หรือจะใช้กระแสในการประจุเป็น  5C  (5  เท่าของความจุ)  ป้อนเข้าไปเป็นเวลา  12  นาที  เป็นต้น  แม้ว่าวิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่ดี  เช่น  สำหรับนักเล่นเครื่องบินจำลองที่มีเพียงแหล่งจ่ายไฟเป็นเพียงแบตเตอรี่รถยนต์ก็ตาม  ก็เป็นสิ่งที่ควรระวังไว้  เนื่องจากการประจุมากเกินไปเพียง  2 – 3  วินาที  อาจจะทำให้เกิดการรั่วของเซลได้  กล่าวย่อๆ  ก็คือ  เมื่อจะใช้วิธีการนี้เซลจะต้องหมดประจุอย่างเต็มที่  และใช้กระแสในการประจุค่าที่แน่นอนเป็นระยะเวลาที่ถูกต้อง