ประวัติความเป็นมา
ที่ตั้ง
เลขที่ 193 หมู่ 3 ถนนสุขุมวิท ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีเนื้อที่ 64 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา
การจัดตั้ง
วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐออสเตรีย โดยรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐออสเตรีย เสนอให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เครื่องจักร เครื่องมือ และคณะผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการติดตั้งการทำงานของเครื่องจักรกล และการฝึกอบรมนักเรียน นักศึกษา ส่วนรัฐบาลไทย เป็นผู้จัดหาที่ดินทำการก่อสร้างอาคารเรียนโรงฝึกงาน และสิ่งก่อสร้าง อื่น ๆ ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตช่างเทคนิคให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
2. เพื่อให้นักเรียนนัก-ศึกษา เกิดทักษะตรงกับมาตราฐานช่างเทคนิค และสถานประกอบการ
3. เพื่อพัฒนาแผนการเรียนการสอนกับช่างอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับการพัฒนา ในภาคตะวันออก
ความเป็นมา
วันที่ 26 กรกฎาคม 2506 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้จัดตั้งโรงเรียนเทคนิคสัตหีบ ณ บ้านอำเภอ ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 64 ไร่ 3งาน 20 ตารางวา วันที่ 1 กันยายน 2512 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคสัตหีบ (ทส.) และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่าTHAI-AUSTRIAN TECHNICAL SCHOOL และเนื่องจากเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดการเดินทางไม่สะดวกทางโรงเรียนจึงจัดให้มีหอพักนักเรียน-นักศึกษา โดยมีหอพัก 2 หลัง คืออาคารหอพัก 4 ชั้น และอาคารหลังไม้ ทำให้ครู-อาจารย์และนักเรียนมีความผูกพัน รักใคร่กันเป็นอันมาก ปัจจุบันการเดินทางสะดวกสะบายขึ้น ประกอบกับจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น อาคารหอพัก จึงได้ถูกยกเลิกในปีการศึกษา 2533 วันที่ 11 ตุลาคม 2520 กรมอาชีวศึกษาได้จัดพิธีรับมอบอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนเทคนิคสัตหีบอย่างเป็นทางการโดย Mr.Kari Peterlik เอกอัครราชฑูตออสเตรียประจำประเทศไทยผู้แทนรัฐบาลออสเตรียเป็นผู้มอบนายภิญโญ สาธร รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเป็นผู้รับมอบ
วันที่ 2 สิงหาคม 2533 กระรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกระดับโรงเรียนเทคนิคสัตหีบสังกัดกองโรงเรียนเป็นวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า THCHNICAL COLLEGE SATTAHIP CHONBURI วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533 ได้มีการลงนามในบันทึกช่วยจำ ระหว่าง Mr. Hoch Lenitner เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้แทนรัฐบาลออสเตรีย กับนายบุญเทียม เจริญยิ่ง อธิบดีกรมอาชีวศึกษา ผู้แทนรัฐบาลไทยในโครงการให้ความช่วยเหลือ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2533-2537) โดยมี ฯพลฯ HE.Dr. Alois Mock รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของออสเตรียเป็นสักขีพยานโครงการนี้ได้แบ่งการจัดส่ง เครื่องจักรอุปกรณ์ ออกเป็น 4 ระยะดังนี้
- ระยะที่ 1 สิงหาคม 2533 จัดส่งอะไหล่และอุปกรณ์บางอย่างมาเพื่อช่วยซ่อม
เครื่องจักรอุปกรณ์เดิมซึ่งชำรุดและเพิ่มเติมอุปกรณ์และเครื่องจักร คิดเป็นเงิน 2,477,450.62 บาท และ
19 พฤศจิกายน 2533 มอบเงินจำนวน 991,872.52 บาท ให้วิทยาลัยฯ ดำเนินการซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์
ภายในประเทศ
- ระยะที่ 2 กุมภาพันธ์ 2534 ได้จัดส่งอะไหล่และอุปกรณ์เพิ่มเติม
เป็นเงิน 1,748,934.74 บาท
- ระยะที่ 3 พฤษภาคม 2539 จัดส่งเครื่องจักรอุปกรณ์ ที่ทันสมัยเป็นเงิน 8,335,160.66 บาท
และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน มาดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ และแนะนำการใช้
- ระยะที่ 4 กันยายน 2539 จัดส่งเครื่องจักรอุปกรณ์ ที่ทันสมัยมาเพิ่มเติม ในส่วนที่เหลือ
และจะมีผู้เชี่ยวชาญมาปฏิบัติหน้าที่อีกประมาณ 5-6 คน และจัดพิธีมอบเครื่องจักรเครื่องมือชุดใหม่ตามโครงการให้ความช่วยเหลือครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2539 คณะผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรีย
ที่มาปฏิบัติงานในช่วงที่ 3 ของโครงการฯ ระหว่างวันที่ 2 พฤษภาคม –10 กรกฎาคม 2539 มีดังนี้
1. Mr.Hermann Kotzmann หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญ
2. Mr.Kurt Reiter ผู้เชี่ยวชาญช่างหล่อโลหะ
3. Mr.Christian Gruber ผู้เชี่ยวชาญช่างเชื่อม
4. Mr.Gerhard Mayer ผู้เชี่ยวชาญช่างไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
อีกทั้งในปีการศึกษา 2539 วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ได้รับเลือกให้เป็นสถานศึกษาดีเด่น ฯพณฯ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ได้มอบโล่รางวัลดีเด่นโดยมี นายวิชัย ป้อมประเสริฐ ผู้อำนายการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ในครั้งนั้นเป็นผู้รับมอบ วิทยาลัยฯ ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปีการศึกษา 2534 ในฐานะสถานศึกษา ดีเด่นในระดับอุดมศึกษา ของเขตการศึกษาที่ 12 ปี พ.ศ.2536 และเปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) หลักสูตร 2 ปี มีฐานะเทียบเท่าระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเครื่องกล และเปิดสอนในสาขาวิชาเครื่องมือกล อีก 1 สาขา ในปีการศึกษา 2537 นอกจากนี้วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ยังเป็นศูนย์การศึกษาของนักศึกษาสถาบันราชภัฎฉะเชิงเทราในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีการศึกษา 2536 – ปีการศึกษา 2540 มีทั้งสิ้น 5 สาขา คือ
1. เทคโนโลยีก่อสร้าง
2. เทคโนโลยีการผลิต
3. เทคโนโลยีเครื่องกล
4. เทคโนโลยีไฟฟ้า
5. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ยังได้รับการคัดเลือกจากกรมอาชีวศึกษาเข้าร่วมพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากรในสถานศึกษาโดยได้รับเงินกู้จากสำนักงาน OECF ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมอบให้กรมอาชีวะศึกษาเป็นเงินทั้งสิ้น 1,913.3 ล้านบาท และเงินสมทบจากรัฐบาลไทยอีก 569 ล้านบาททั้งนี้ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบเป็น 1 ใน 10 วิทยาลัยฯ ที่จะมีส่วนได้รับเงินจำนวนหนึ่งจากยอดดังกล่าว จะนำมาพัฒนาแผนกช่างเทคนิคการผลิตและช่างกลโรงงานเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภาคตะวันออก ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2537 - 2541
ในปี พ.ศ. 2548 ตามหนังสือที่ ศธ 0604/038 สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ลงวันที่ 18 มกราคม 2548 ตามความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งศูนย์เครือข่ายการอาชีวศึกษานานาชาติ ณ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และในระดับภูมิภาคอีก 3 แห่ง โดยวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายอาชีวศึกษานานาชาติของภาคตะวันออก
เมื่อ พ.ศ. 2548 ได้รับยกย่องให้เป็นสถานศึกษาอาชีวศึกษาต้นแบบ (Super Model) แห่งเดียว ประเภทวิทยาลัยเทคนิค ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เลขที่ 193 หมู่ 3 ถนนสุขุมวิท ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีเนื้อที่ 64 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา
การจัดตั้ง
วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐออสเตรีย โดยรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐออสเตรีย เสนอให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เครื่องจักร เครื่องมือ และคณะผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการติดตั้งการทำงานของเครื่องจักรกล และการฝึกอบรมนักเรียน นักศึกษา ส่วนรัฐบาลไทย เป็นผู้จัดหาที่ดินทำการก่อสร้างอาคารเรียนโรงฝึกงาน และสิ่งก่อสร้าง อื่น ๆ ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตช่างเทคนิคให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
2. เพื่อให้นักเรียนนัก-ศึกษา เกิดทักษะตรงกับมาตราฐานช่างเทคนิค และสถานประกอบการ
3. เพื่อพัฒนาแผนการเรียนการสอนกับช่างอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับการพัฒนา ในภาคตะวันออก
ความเป็นมา
วันที่ 26 กรกฎาคม 2506 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้จัดตั้งโรงเรียนเทคนิคสัตหีบ ณ บ้านอำเภอ ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 64 ไร่ 3งาน 20 ตารางวา วันที่ 1 กันยายน 2512 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคสัตหีบ (ทส.) และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่าTHAI-AUSTRIAN TECHNICAL SCHOOL และเนื่องจากเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดการเดินทางไม่สะดวกทางโรงเรียนจึงจัดให้มีหอพักนักเรียน-นักศึกษา โดยมีหอพัก 2 หลัง คืออาคารหอพัก 4 ชั้น และอาคารหลังไม้ ทำให้ครู-อาจารย์และนักเรียนมีความผูกพัน รักใคร่กันเป็นอันมาก ปัจจุบันการเดินทางสะดวกสะบายขึ้น ประกอบกับจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น อาคารหอพัก จึงได้ถูกยกเลิกในปีการศึกษา 2533 วันที่ 11 ตุลาคม 2520 กรมอาชีวศึกษาได้จัดพิธีรับมอบอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนเทคนิคสัตหีบอย่างเป็นทางการโดย Mr.Kari Peterlik เอกอัครราชฑูตออสเตรียประจำประเทศไทยผู้แทนรัฐบาลออสเตรียเป็นผู้มอบนายภิญโญ สาธร รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเป็นผู้รับมอบ
วันที่ 2 สิงหาคม 2533 กระรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกระดับโรงเรียนเทคนิคสัตหีบสังกัดกองโรงเรียนเป็นวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า THCHNICAL COLLEGE SATTAHIP CHONBURI วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533 ได้มีการลงนามในบันทึกช่วยจำ ระหว่าง Mr. Hoch Lenitner เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้แทนรัฐบาลออสเตรีย กับนายบุญเทียม เจริญยิ่ง อธิบดีกรมอาชีวศึกษา ผู้แทนรัฐบาลไทยในโครงการให้ความช่วยเหลือ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2533-2537) โดยมี ฯพลฯ HE.Dr. Alois Mock รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของออสเตรียเป็นสักขีพยานโครงการนี้ได้แบ่งการจัดส่ง เครื่องจักรอุปกรณ์ ออกเป็น 4 ระยะดังนี้
- ระยะที่ 1 สิงหาคม 2533 จัดส่งอะไหล่และอุปกรณ์บางอย่างมาเพื่อช่วยซ่อม
เครื่องจักรอุปกรณ์เดิมซึ่งชำรุดและเพิ่มเติมอุปกรณ์และเครื่องจักร คิดเป็นเงิน 2,477,450.62 บาท และ
19 พฤศจิกายน 2533 มอบเงินจำนวน 991,872.52 บาท ให้วิทยาลัยฯ ดำเนินการซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์
ภายในประเทศ
- ระยะที่ 2 กุมภาพันธ์ 2534 ได้จัดส่งอะไหล่และอุปกรณ์เพิ่มเติม
เป็นเงิน 1,748,934.74 บาท
- ระยะที่ 3 พฤษภาคม 2539 จัดส่งเครื่องจักรอุปกรณ์ ที่ทันสมัยเป็นเงิน 8,335,160.66 บาท
และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน มาดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ และแนะนำการใช้
- ระยะที่ 4 กันยายน 2539 จัดส่งเครื่องจักรอุปกรณ์ ที่ทันสมัยมาเพิ่มเติม ในส่วนที่เหลือ
และจะมีผู้เชี่ยวชาญมาปฏิบัติหน้าที่อีกประมาณ 5-6 คน และจัดพิธีมอบเครื่องจักรเครื่องมือชุดใหม่ตามโครงการให้ความช่วยเหลือครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2539 คณะผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรีย
ที่มาปฏิบัติงานในช่วงที่ 3 ของโครงการฯ ระหว่างวันที่ 2 พฤษภาคม –10 กรกฎาคม 2539 มีดังนี้
1. Mr.Hermann Kotzmann หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญ
2. Mr.Kurt Reiter ผู้เชี่ยวชาญช่างหล่อโลหะ
3. Mr.Christian Gruber ผู้เชี่ยวชาญช่างเชื่อม
4. Mr.Gerhard Mayer ผู้เชี่ยวชาญช่างไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
อีกทั้งในปีการศึกษา 2539 วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ได้รับเลือกให้เป็นสถานศึกษาดีเด่น ฯพณฯ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ได้มอบโล่รางวัลดีเด่นโดยมี นายวิชัย ป้อมประเสริฐ ผู้อำนายการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ในครั้งนั้นเป็นผู้รับมอบ วิทยาลัยฯ ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปีการศึกษา 2534 ในฐานะสถานศึกษา ดีเด่นในระดับอุดมศึกษา ของเขตการศึกษาที่ 12 ปี พ.ศ.2536 และเปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) หลักสูตร 2 ปี มีฐานะเทียบเท่าระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเครื่องกล และเปิดสอนในสาขาวิชาเครื่องมือกล อีก 1 สาขา ในปีการศึกษา 2537 นอกจากนี้วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ยังเป็นศูนย์การศึกษาของนักศึกษาสถาบันราชภัฎฉะเชิงเทราในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีการศึกษา 2536 – ปีการศึกษา 2540 มีทั้งสิ้น 5 สาขา คือ
1. เทคโนโลยีก่อสร้าง
2. เทคโนโลยีการผลิต
3. เทคโนโลยีเครื่องกล
4. เทคโนโลยีไฟฟ้า
5. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ยังได้รับการคัดเลือกจากกรมอาชีวศึกษาเข้าร่วมพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากรในสถานศึกษาโดยได้รับเงินกู้จากสำนักงาน OECF ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมอบให้กรมอาชีวะศึกษาเป็นเงินทั้งสิ้น 1,913.3 ล้านบาท และเงินสมทบจากรัฐบาลไทยอีก 569 ล้านบาททั้งนี้ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบเป็น 1 ใน 10 วิทยาลัยฯ ที่จะมีส่วนได้รับเงินจำนวนหนึ่งจากยอดดังกล่าว จะนำมาพัฒนาแผนกช่างเทคนิคการผลิตและช่างกลโรงงานเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภาคตะวันออก ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2537 - 2541
ในปี พ.ศ. 2548 ตามหนังสือที่ ศธ 0604/038 สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ลงวันที่ 18 มกราคม 2548 ตามความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งศูนย์เครือข่ายการอาชีวศึกษานานาชาติ ณ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และในระดับภูมิภาคอีก 3 แห่ง โดยวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายอาชีวศึกษานานาชาติของภาคตะวันออก
เมื่อ พ.ศ. 2548 ได้รับยกย่องให้เป็นสถานศึกษาอาชีวศึกษาต้นแบบ (Super Model) แห่งเดียว ประเภทวิทยาลัยเทคนิค ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ในปี พ.ศ. 2551 วิทยาลัยฯ ได้รับเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นสถานศึกษาดีเด่น รางวัลพระราชทาน ระดับอาชีวศึกษา โดยเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลดีเด่นจาก สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โดยมีนายสมชาย ธำรงสุข ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ในครั้งนั้น เป็นผู้เข้ารับพระราชทาน
ปี พ.ศ. 2553 นายจักรพันธ์ เนื่องจำนงค์ นักศึกษาแผนกช่างเขียนแบบเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับเกียรติบัตรและรางวัล พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมาร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2552